Show simple item record

Policy Analysis for Response to and Preparedness for an Avian Influenza Pandemic and/or Influenza in Thailand

dc.contributor.authorเพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุขen_US
dc.contributor.authorฉันทนา ผดุงทศen_US
dc.contributor.authorพรพิศ ศิลขวุธท์en_US
dc.contributor.authorPetcharat Pongcharoensuken_EN
dc.contributor.authorChantana Padungtoden_EN
dc.contributor.authorPornpit Silkavuteen_EN
dc.date.accessioned2011-11-30T08:28:30Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:15:17Z
dc.date.available2011-11-30T08:28:30Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:15:17Z
dc.date.issued2554-09en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 5,3 (ก.ค.-ก.ย. 2554) : 276-286en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3373en_US
dc.description.abstractปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2547 ทำให้รัฐบาลต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อแก้ไขและควบคุมไข้หวัดนก และ/หรือไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีนในไก่ และการสะสมสตอคยาต้านไวรัสสำหรับมนุษย์ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 38 คนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายไข้หวัดนก นอกจากนี้มีการทบทวนวรรณกรรมไปพร้อมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลจากประเด็นสำคัญที่ได้จากการสัมภาษณ์ ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม จากนั้นจึงนำมาสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์นโยบายไข้หวัดนกในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีนไข้หวัดนกในไก่ เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากที่มีมุมมองของผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน และอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย กลุ่มผู้สนับสนุนการใช้วัคซีนในไก่ คือผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งเป็นตัวแทนของชาวชนบท ทั้งนี้เพราะมาตรการของการไม่ใช้วัคซีน เช่น การฆ่าไก่ หรือกักบริเวณไก่นั้น ขัดกับวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวชนบทที่เลี้ยงไก่เป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน ผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วนมากไม่ต้องการใช้วัคซีนในไก่ มีเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ 1) ประสิทธิภาพของวัคซีนยังไม่เป็นที่ประจักษ์ และอาจนำไปสู่ปัญหาสาธารณสุขได้, 2) รัฐบาลมีความพร้อมเชิงโครงสร้างเพื่อรับมือการระบาดของไข้หวัดนก ด้วยมาตรการต่างๆ ที่ไม่ต้องใช้วัคซีน, 3) ระบบการจัดการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องการใช้วัคซีนยังไม่ดีนัก เพราะต้องมีระบบที่ครบวงจร ทั้งวัคซีนที่มีคุณภาพ การจัดการงบประมาณ ระบบโลจิสติกส์ การเฝ้าระวัง และกำหนดเวลาการยกเลิกการใช้วัคซีน), และ 4) รัฐบาลมีนัยยะที่ต้องการปกป้องธุรกิจส่งออกไก่ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายห้ามใช้วัคซีนในไก่ แต่การกำหนดนโยบายการสะสมสตอคยาต้านไวรัสสำหรับคน มีความแตกต่างกันมากเพราะถูกกำหนดโดยนักวิชาการในกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก แต่ขึ้นกับปัจจัยงบประมาณที่มีจำกัด ในกระบวนการกำหนดนโยบาย ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก ได้แก่ สภาวะผู้นำของรัฐบาล ข้อกำจัดด้านงบประมาณ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสัตว์และสุขภาพคน หลักฐานทางวิชาการ และการสื่อสารเรื่องความเสี่ยงต่อสาธารณะen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleการวิเคราะห์นโยบายเพื่อตอบสนองและเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดนกและ/หรือไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativePolicy Analysis for Response to and Preparedness for an Avian Influenza Pandemic and/or Influenza in Thailanden_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeSince 2005, a national strategic plan aimed at controling and preventing a future avian influenza (AI) pandemic and/or outbreak of influenza in Thailand was established as a policy measure to tackle these public health threats. The objective of this paper is to study the formulation process of two policy measures for AI: vaccination of poultry and stockpiling of antiviral drugs for humans. We used a qualitative approach with in-depth interviews of 38 key stakeholders from many organizations. In addition, a literature review was carried out along with the interviews. After collecting data from the literature and the in-depth interviews, we analyzed the emerging themes relevant to the policy formulation process in Thailand. We found that policy formulation concerning poultry vaccination is a very complex and politically driven process since many stakeholders are involved with different special interests and powerful influences. Small-scale poultry producers representing rural people are the ones who would rather use vaccine, because non-vaccine measures, such as culling or using bio-security buildins and measures, are against their rural culture. However, the majority of key stakeholders were against the use of poultry vaccine. There are four major reasons: (a) evidence of vaccine effectiveness is not convincing and thus a public health threat remains possible; (b) the government has confidence in the infrastructure needed to fight AI outbreaks with non-vaccine measures; (c) the management system of vaccination (acquisition of goodquality vaccine, finance, logistics, monitoring and exit program) is not fully effective; and (d) the government implicitly wants to protect the poultry export industry. Thus, the government decided not to use poultry vaccine. Contrary to the poultry vaccine policy, building stockpiles of antiviral drugs for use in humans is determined primarily by experts at the Ministry of Public Health, following World Health Organization guidelines, but under budget constraints. Other factors relevant to policy analysis are: government leadership, budget constraints, animal and human health co-ordination, scientific evidence and risk communication for the public.en_US
dc.subject.keywordPolicy Analysisen_US
dc.subject.keywordPandemic Influenzaen_US
dc.subject.keywordAvian Influenzaen_US
dc.subject.keywordการวิเคราะห์นโยบายen_US
dc.subject.keywordไข้หวัดใหญ่en_US
dc.subject.keywordไข้หวัดนกen_US
.custom.citationเพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข, ฉันทนา ผดุงทศ, พรพิศ ศิลขวุธท์, Petcharat Pongcharoensuk, Chantana Padungtod and Pornpit Silkavute. "การวิเคราะห์นโยบายเพื่อตอบสนองและเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดนกและ/หรือไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3373">http://hdl.handle.net/11228/3373</a>.
.custom.total_download1397
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year243
.custom.downloaded_fiscal_year24

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v5n3 ...
Size: 219.2Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record