บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์และวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐสังคม ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่ ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยสุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 398 คน จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 7 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ และทำการวิเคราะห์ด้วยตัวแบบการถดถอยโลจิท ผลการศึกษาสถานการณ์โรคอ้วนของนักศึกษาพบว่า ร้อยละ 29 มีน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 64 เป็นเพศชาย ร้อยละ 54 อยู่หอพัก ร้อยละ 35 ไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 27 มีความเต็มใจจ่ายในการรักษาโรคอ้วน ร้อยละ 91 ไม่รู้สถานะว่าตัวเองเป็นโรคอ้วน และร้อยละ 38 มีประกันสุขภาพเอกชน ทั้งนี้ปัจจัยทางเศรษฐสังคมที่มีผลต่อโรคอ้วนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10 ได้แก่ รายได้ของครอบครัว การบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด ที่อยู่อาศัย ความเต็มใจจ่ายในการรักษาโรคอ้วน และเพศ ส่วนปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ เช่น พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่คำนึงถึงสุขภาพในระยะยาว “myopic view” และปัญหาการมีข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการ สาเหตุของโรคอ้วนที่ไม่เท่าเทียมกัน และไม่ครบถ้วน พบว่าไม่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักศึกษาไม่มีพฤติกรรมการบริโภคแบบ myopic view หรือนักศึกษามีข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการ สาเหตุของโรคอ้วนที่เท่าเทียมกัน หรือครบถ้วนแล้ว
บทคัดย่อ
The aims of this study were to explore the situation of obesity among undergraduate students and to
determine the socio-economic and economic factors associated with obesity. A cross-sectional survey using
questionnaires was conducted among 398 students in 7 universities in Chiang Mai Province, Thailand. The
data were then analyzed by using a logit regression model. We found the situation of obesity in undergraduate
students as follows: 29 percent of the study sample was either overweight or obese. Of those, 64 percent
were male, 54 percent stayed in the dormitory, 35 percent failed to exercise, 27 percent were not willing to
pay for obesity treatment, 91 percent did not acknowledge themselves as obese and 38 percent had health
insurance. The socio-economic factors significantly associated with obesity among undergraduate students
were family incomes, fast food consumption, place of living, willingness to pay for obesity treatment and
sex at the 0.10 significance level. However, economic factors, such as myopic view underlying eating habits,
asymmetric information and incomplete information on nutrition and causes of obesity, did not show a
significant impact on obesity among the undergraduates. It was concluded that undergraduate students
possibly had no myopic view behavior or they knew very well concerning the information on nutrition and
causes of obesity.