บทคัดย่อ
ข้อตกลงการค้าเสรีเกิดขึ้นจากความเชื่อว่า ควรจะปล่อยให้สินค้าที่มีคุณภาพดีกระจายไปทั่วโลกได้อย่างเสรี ปราศจากมาตรการกีดกันต่างๆ เพื่อที่คุณภาพชีวิตของประชาชนจะดีขึ้น และประเทศต่างๆจะมีความมั่งคั่งขึ้น แต่ยาสูบเป็นสินค้าที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ ยิ่งบริโภคมากเท่าใด ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคและบุคคลรอบข้าง ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้ค้าขายยาสูบได้อย่างเสรีดังเช่นสินค้าอื่นๆทั่วไป การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลทางสถิติของประเทศไทยและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงให้เห็นผลกระทบในทางลบจากการทำข้อตกลงการค้าเสรีที่มีต่อการควบคุมยาสูบ โดยหลังจากได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งมีผลให้ภาษีนำเข้าลดลงเป็นอัตราร้อยละ 5 แล้ว ปริมาณบุหรี่ที่นำเข้ามาในประเทศก็เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับอัตราการสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น และจำนวนผู้สูบบุหรี่ในช่วงอายุอื่นก็ลดลงช้าลงกว่าที่เคยเป็นมา ทั้งๆที่มีการรณรงค์เลิกสูบบุหรี่ในหลายๆด้าน นอกจากนี้ การทำข้อตกลงการค้าเสรีส่งผลกระทบในด้านลบต่อการพัฒนามาตรการควบคุมยาสูบเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านรัฐบาลที่ลังเลต่อการออกนโยบายควบคุมยาสูบเพราะเกรงว่าจะละเมิดข้อตกลงทางการค้า และในด้านอุตสาหกรรมบุหรี่ที่ใช้ข้อตกลงทางการค้าเป็นเครื่องมือสำคัญในการกดดันและข่มขู่รัฐบาลไม่ให้ออกมาตรการที่จะกระทบต่อยอดขายบุหรี่ของตน การศึกษานี้จึงเสนอว่า ควรถอดยาสูบออกจากรายการสินค้าที่ต้องลดภาษีตามข้อตกลงทางการค้า เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการควบคุมยาสูบ
บทคัดย่อ
Free trade agreements are intended to spread high-quality goods to all member countries without
any barriers so that the standard of living and the wealth of the member countries would be heightened.
Tobacco, however, is not a typical good. On the contrary, it is detrimental to human life. The more cigarettes
are smoked, the more harmis incurred by both the consumer and the people in the same environment.
Hence, the dissemination of tobacco products should be controlled. This paper considers statistical
data and relevant articles, and then presents the negative impacts of free trade agreements. After a tariff
reduction of 5 percentage points resulting from the ASEAN Free Trade Agreement (AFTA), the production
of domestic and foreign cigarettes rose. Likewise, the tobacco consumption rate among adolescences
expanded. Despite a wide-ranging campaign to reduce smoking, the decline in the tobacco consumption
rate in other age groups was not as remarkable as it should have been. Moreover, AFTA hindered the
development of tobacco-control regulations. The government was likely to soften the new regulations to
avoid infringing on the free trade agreement, whereas the tobacco industry worked to prevent such regulations
in the first place by threatening the government with the terms of the free trade agreement. This
paper, therefore, suggests that, in order to strengthen tobacco-control schemes, tobacco products should
be put on the exclusion list of free trade agreements.