dc.contributor.author | สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ | en_US |
dc.date.accessioned | 2011-12-14T08:04:20Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:18:42Z | |
dc.date.available | 2011-12-14T08:04:20Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:18:42Z | |
dc.date.issued | 2553 | en_US |
dc.identifier.other | hs1881 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3397 | en_US |
dc.description.abstract | แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ระยะที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2553 เป็นแผนงานที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาจากแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพระยะที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2548 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดกลไกการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพใน 4 ส่วน ได้แก่ การพัฒนาดัชนีชี้วัดและรายงานสุขภาพระดับชาติ การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพเฉพาะประเด็น การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพระดับพื้นที่ และการพัฒนามาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ รวมทั้งการพัฒนาระบบสนับสนุนอื่นๆ อาทิเช่น การพัฒนากลไกเครือข่าย การพัฒนาศักยภาพ และการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลให้เข้าถึงได้ เป็นต้น ผลการดำเนินงานของแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ระยะที่ 2 ได้มีการพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพในภาพรวม อาทิเช่น การพัฒนาและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2562 การบริหารจัดการเครือข่ายข้อมูลข่าวสารสุขภาพไทย (THINK) การจัดประชุมวิชาการระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของแผนงานฯ ในแต่ละส่วนประกอบด้วย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติจนผ่านมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติขึ้นเพื่อดำเนินงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพต่อไป 2. การพัฒนาชุดดัชนีชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ จนได้ชุดดัชนีชี้วัดสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบโดยเครือข่าย THINK โดยมีการรายงานในรายงานสุขภาพคนไทย 3. การจัดทำรายงานสุขภาพ ได้แก่ รายงานสุขภาพคนไทย 2549-2553 รายงานการสาธารณสุขไทย 2548-2550 และ 2551-2552 โดยใช้อ้างอิงในการขับเคลื่อนและสร้างความตระหนักโดยภาคี 4. การจัดทำเครื่องชี้วัดภาระโรค พ.ศ.2547 ทั้งในส่วนของภาระโรคและการบาดเจ็บ และภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งการศึกษาน้ำหนักความพิการ การศึกษาภาระโรคเฉพาะโรค ภาระโรครายเขต และการพยากรณ์ภาระโรค ใช้สำหรับจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและวางแผนดำเนินงานโดยภาคี 5. การพัฒนาระบบข้อมูลเฉพาะประเด็น อาทิเช่น การพัฒนาคุณภาพสาเหตุการตายนอกสถานพยาบาล การศึกษาแผนที่ข้อมูลเฝ้าระวังโรคติดต่อ การพัฒนาเครื่องมือประเมินคุณภาพทะเบียนมะเร็ง การศึกษาปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง การวิเคราะห์ข้อมูลทะเบียนโรคหัวใจ การพัฒนาศักยภาพสารสนเทศอุบัติเหตุจราจร การพัฒนาระบบข้อมูลพิกัดสถานพยาบาล การพัฒนาระบบสำรวจข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ การพัฒนาดัชนีชี้วัดบริการเภสัชกรรม การพัฒนาข้อมูลยุทธศาสตร์การแพทย์แผนไทยฯ การพัฒนาเครื่องชี้วัดประสิทธิภาพสถานพยาบาล เป็นต้น โดยระบบข้อมูลส่วนใหญ่ดำเนินงานโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือเครือข่ายเฉพาะประเด็น จึงมีแนวโน้มที่จะดำเนินงานต่อเนื่องได้ 6. การพัฒนาระบบข้อมูลระดับพื้นที่ ได้แก่ การพัฒนาระบบข้อมูลระดับจังหวัดในจังหวัดสงขลาและกาฬสินธุ์ การพัฒนาระบบข้อมูลเฉพาะประเด็นในจังหวัด เช่น ข้อมูลอุบัติเหตุจังหวัดสงขลา ข้อมูลผู้สูงอายุจังหวัดลำพูน การพัฒนาระบบข้อมูลระดับเทศบาลในตำบลปริก การพัฒนาระบบข้อมูลในพื้นที่เฉพาะ เช่น ข้อมูลความไม่สงบชายแดนภาคใต้ การประเมินการความต้องการและการใช้ข้อมูลระดับพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการโดยพื้นที่ จึงมีแนวโน้มที่จะสานต่อการดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป 7. การพัฒนามาตรฐานและการจัดการข้อมูล ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานรหัสที่สำคัญ เช่น รหัสยา รหัสเครื่องมือแพทย์ รหัสบริการระดับปฐมภูมิ รหัสสถานพยาบาล รหัสสิทธิการรักษา รหัสอาชีพและการศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทบทวนโครงสร้างข้อมูลบริการปฐมภูมิ การพัฒนาระบบนำเสนอข้อมูลสถิติ และการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลจากสถานีอนามัยถึงจังหวัดและส่วนกลาง โดยการพัฒนาและใช้มาตรฐานข้อมูลนั้น จะมีการดำเนินงานโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป 8. การสำรวจสภาวะสุขภาพ ได้แก่ การสำรวจสภาวะสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ทำให้ได้ข้อมูลความชุกของโรคเรื้อรัง ความเสี่ยงทางสุขภาพและการได้รับบริการสุขภาพ ใช้ในการติดตามและกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง 9. การพัฒนาศักยภาพในด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ซึ่งได้ทดลองในพื้นที่ภาคใต้และขยายไปยังพื้นที่อื่น 10. การจัดประชุมวิชการระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ โดยเป็นการจัดร่วมกันระหว่างภาคีด้านระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพกว่า 30 หน่วยงาน ภายใต้เครือข่าย THINK ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน และมีแนวทางที่จะจัดอย่างต่อเนื่อง 11. การพัฒนาเครือข่ายข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ได้แก่ เครือข่ายข้อมูลข่าวสารสุขภาพไทย (THINK) ที่มีกิจกรรมที่ต่อเนื่องในการแลกเปลี่ยนความรู้ และเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันในบางประเด็น ซึ่งจะดำเนินงานต่อเนื่องโดยความร่วมมือของภาคีต่างๆ 12. การจัดทำสื่อข้อมูลสุขภาพสำหรับภาคีและประชาชน โดยการพัฒนาสื่อต้นคิด ในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะกับการใช้ในแต่ละกลุ่มผู้ใช้ เช่น จดหมายอเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน โปสเตอร์นิทรรศการ หนังสือ เวทีเสวนา ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูลเข้าถึงผู้ใช้ และเข้าใจง่าย 13. การพัฒนาระบบนำเสนอข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยได้พัฒนาเว็บไซต์ www.hiso.or.th สำหรับเผยแพร่ผลผลิตและรายงาน รวมทั้งข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งสื่อข้อมูล รายงาน บทความ ข้อมูลสถิติที่นำเสนอแบบกราฟรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสุขภาพ หากสรุปผลผลิตที่ได้เปรียบเทียบกับเป้าหมายผลผลิตที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก จะพบว่ามีผลผลิตบางอย่างที่เพิ่มเติมเข้ามา อาทิเช่น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ การสำรวจสภาวะสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ฯลฯ โดยในส่วนของเป้าหมายผลผลิตตามกรอบการดำเนินงานส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามที่กำหนดในเป้าหมาย ทั้งด้านดัชนีชี้วัดสุขภาพและรายงานสุขภาพ การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพเฉพาะประเด็น การพัฒนามาตรฐานข้อมูล เป็นต้น ยกเว้นในส่วนของการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพระดับพื้นที่ ในระดับท้องถิ่น และในพื้นที่เฉพาะ ซึ่งมีการปรับการทำงานโดยเชื่อมโยงกับแผนงานด้านสุขภาวะชุมชน และปัญหาบางส่วนเกิดจากข้อจำกัดของกลไกเครือข่ายระดับภูมิภาค ผลผลิตที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดในด้านต่างๆ ที่สำคัญก็คือ การต่อยอดการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพในภาพรวมที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ การพัฒนาเครือข่าย THINK การพัฒนามาตรฐานข้อมูล ฯลฯ โดยบทบาทของแผนงานฯ ในระยะต่อไป จะเน้นไปที่การจัดการข้อมูลให้เข้าถึงได้ ซึ่งนับว่ายังเป็นส่วนขาดของระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ โดยการดำเนินการพัฒนาระบบนำเสนอข้อมูลข่าวสารสุขภาพบนอินเตอร์เน็ต รวมถึงข้อมูลทรัพยากรสุขภาพของสถานพยาบาล เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับสืบค้นและตอบสนองต่อความต้องการข้อมูลของผู้ใช้ระดับต่างๆต่อไป โดยจะมีการทำงานเชื่อมโยงกับกลไกอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ กลไกคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติที่ดูภาพรวมของระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กลไกเครือข่ายข้อมูลข่าวสารสุขภาพไทยที่แลกเปลี่ยนรู้และสร้างความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการ และกลไกการพัฒนามาตรฐานข้อมูลที่จะกำหนดมาตรฐานข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลและหน่วยงานสุขภาพ ทำให้การดำเนินงานในระยะต่อไปมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งการเชื่อมโยงกับภาพใหญ่ของการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ฐานข้อมูลสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ข้อมูลสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | สารสนเทศทางการแพทย์ | en_US |
dc.subject | สถิติสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ข้อมูลสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | สรุปผลการดำเนินงานแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ (ระยะที่ 2 พ.ศ. 2549 - 2553) | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | W26.5 ส238 2553 | en_US |
dc.identifier.contactno | 49ข008 | en_US |
.custom.citation | สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. "สรุปผลการดำเนินงานแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ (ระยะที่ 2 พ.ศ. 2549 - 2553)." 2553. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3397">http://hdl.handle.net/11228/3397</a>. | |
.custom.total_download | 164 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 3 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |