บทคัดย่อ
นโยบายการคลังมีอิทธิพลต่อราคาอาหารซึ่งเอื้อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หลักฐานเกี่ยวกับการใช้มาตรการทางภาษีและราคาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงผลของมาตรการต่อประชาชนยังไม่ชัดเจน การศึกษานี้จึงได้ทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบเพื่อสืบค้นหลักฐานการวิจัยเกี่ยวกับมาตรการทางภาษีและราคาอาหาร โดยต้องเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย รวมถึงอาจเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ จากผลการการศึกษาพบ 27 บทความที่ตรงประเด็น เป็นบทความทบทวนการศึกษาวิจัยจำนวน 4 บทความ บทความตีพิมพ์เผยแพร่ออนไลน์ 21 บทความ และบทความที่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ 2 บทความ บทความส่วนใหญ่รายงานการใช้มาตรการทางภาษีในอาหารขบเคี้ยว น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และมาตรการการอุดหนุนราคาอาหารหลักของประเทศ เช่น ข้าว แป้งสาลี และแป้งข้าวโพด โดยมาตรการจัดเก็บภาษี ส่งผลต่อการบริโภคและน้ำหนักตัวของประชาชน ดังนั้นการเก็บภาษีและการอุดหนุนราคาในอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลเสียต่อสุขภาพ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ตามลำดับ อาจส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลการตอบสนองจริงของผู้บริโภคต่ออาหารและเครื่องดื่มก่อนและหลังการใช้มาตรการทางภาษี รวมถึงข้อมูลประสิทธิภาพของมาตรการ และผลของมาตรการต่อประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็น
บทคัดย่อ
While a fiscal policy has been shown to influence food and beverage prices in ways which help encourage
healthier eating behaviour, evidence about the use of tax and price interventions is still unclear and
questions about their effect still remain. A systematic review on food and beverage tax and price interventions
was conducted in order to explore evidence about tax and price interventions to promote healthy
dietary behaviours and investigate their effect on consumers. The English and Thai-language published and
grey literature for studies on tax and price interventions including monetary subsidies or taxes levied on
food and beverage and their effects were searched. Twenty-seven studies met the inclusion criteria. 4 were
from the peer-reviewed literature, 21 were published online and 2 were from grey literature. The studies
mostly focused on taxing snack, confectionary, soft drink and soda, and on subsidizing staple food such as
rice, wheat and maize. These interventions particularly taxation were found in influencing diet and body
weight. In conclusion, taxes and subsidies in food and beverage may be a useful tool contributing to healthier
consumption patterns at the population level. However, more information is needed on actual response on
food and beverage and consumers in food and beverage taxation and subsidy in developing country particularly
Thailand along with information on how effective food and beverage taxation and subsidy would
be and particularly their effect on people in developing countries.