บทคัดย่อ
ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (Adherence) ของการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ มากกว่า 95% จึงจะมีประสิทธิภาพของยาเพียงพอในการกดจำนวนเชื้อไวรัส ไม่เกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ลดโอกาสของการแพร่เชื้อดื้อยาไปสู่ผู้อื่น และทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้นในภาพรวม วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสถานบริการ ที่มีต่อความต่อเนื่องสม่ำเสมอของการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระเบียบวิธีศึกษา: การวิจัยเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ในผู้ที่มีผลบวกต่อเอชไอวีจำนวน 823 รายและได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ ในจังหวัดขอนแก่น เชียงรายและสงขลา ในแต่ละจังหวัด ทำการศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป 1 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง การประเมิน Adherence ใช้วิธีนับเม็ดยาและการประเมินด้วยตนเองใช้ Visual Analog Scale (VAS) การศึกษานี้ได้ผ่านการพิจารณาด้านจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมของกระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาและวิจารณ์: ค่าเฉลี่ย Adherence จากการนับเม็ดยาและการประเมินด้วยตนเอง เท่ากับร้อยละ 87.4 และ 49.7 ตามลำดับ จากวิธีนับเม็ดยา ค่าเฉลี่ย Adherence ในโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน เท่ากับ ร้อยละ 82.7 และ 95.2 ตามลำดับ จากวิธีการประเมินตนเอง ค่าเฉลี่ย Adherence ในโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน เท่ากับ ร้อยละ 46.3 และ ร้อยละ 56.5 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ Binary logistic regression พบว่า ระดับของสถานบริการมีความสัมพันธ์กับระดับ Adherence เมื่อประเมินด้วยวิธี Self report โดยโรงพยาบาลชุมชนมีโอกาสที่จะพบผู้ที่มีระดับ Adherence สูงกว่า เป็น 1.51 เท่าของโรงพยาบาลศูนย์ (OR= 1.51, 95% CI = 1.13-2.20, p-value=0.006) จากการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลขนาดเล็กมีโอกาสที่จะพบผู้ที่มี Adherence สูงกว่าโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป เมื่อประเมินด้วยทั้ง 2 วิธี และเมื่อยืนยันจากการวิเคราะห์ Binary logistic regression จะเห็นได้ว่าถึงแม้เป็นการจัดบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างในการจัดระบบการบริการยาต้านไวรัส มีผลทำให้ Adherence ของการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แตกต่างกัน อาจเกิดจาก โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีด้านปริมาณผู้ป่วยมากกว่า และสถานที่ให้บริการยาต้านไวรัสที่มีขนาดจำกัดและไม่แยกเป็นสัดส่วน ข้อเสนอแนะ: การสนับสนุนโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ในด้านงบประมาณและกำลังคนเป็นประเด็นสำคัญ รวมทั้งการจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน การสนับสนุนให้โรงพยาบาลศูนย์มีมาตรการในการกระตุ้นให้ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ สนใจในเรื่องการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อการเพิ่ม Adherence
บทคัดย่อ
The adherence of antiretroviral therapy (ART) higher than 95 % is needed for the effectiveness
of HIV suppression. prevention of opportunistic infections, reduction chance of HIV transmission
and overall health improvement. Aim of the study was to find facility factors related to adherence of
ART under the universal coverage. Methods: A cross-sectional study was conducted among 823 HIVinfected
individuals who were receiving antiretroviral under National AIDS Program (NAP) in 9 public
hospitals in 3 provinces (3 regional and 6 community hospitals). Adherence had been assessed by pill
count and self-report using Visual analog scale (VAS). This study was approved by ethical committee of
the Ministry of Public Health. Results and discussion: Average adherence from pill-counts and selfreport
was 87.4% and 49.7 % respectively. Adherence from regional and community hospitals evaluated
using pill-count respectively was 82.7 % and 95.2 % while using self-report respectively was 46.3 % and
56.5 %. Logistic regression model shows community hospitals were correlated with higher adherence
than regional hospital from self-report by VAS (OR=1.51; 95 % CI:1.13 -2.02, p=0.006) and from pill-counts
(OR=4.17; 95 % CI:2.10-8.31, p<0.001). Although ART service in all hospitals was under the same Universal
Coverage scheme, the difference of adherence is existed. Related factors might be from patient-staff
relationship, ease of travel, ART-one-stop service and exclusively isolate clinic in small hospitals while in
large hospitals there are many patients visited under limited service area and not separated from other
clinics for receiving ART. Conclusion(s): Regional/general hospital might need substantial supports on
budget and personnel as well as the allocation of service space and increasing interest of the clients on
adherence on ART.