บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อม ซึ่งมารับบริการที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2553 รวม 56 ราย โดย 28 รายได้รับความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการใช้ยาทุกรายการให้สอดคล้องตามวิถีชีวิตมุสลิมในเดือนรอมฎอน และได้รับการเยี่ยมบ้านในช่วงรอมฎอน(กลุ่มศึกษา) และอีก 28 รายได้รับการบริการตามปกติ(กลุ่มเปรียบเทียบ) ดำเนินการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลในโปรแกรมการให้บริการของโรงพยาบาล และแบบบันทึกการติดตามผลการใช้ยาทุกรายการให้สอดคล้องตามวิถีชีวิตมุสลิมในเดือนรอมฎอนของโรงพยาบาล
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีเพศ อายุ การมีโรคร่วม serum creatinine, estimated glomerular filtration rate, microalbuminuria, cardiovascular risk score จำนวนรายการยาที่ได้รับ ระดับน้ำตาลในเลือด และค่าความดันโลหิตตัวบนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในเดือนรอมฎอน พบว่าผู้ป่วยกลุ่มศึกษาปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาได้ดีร้อยละ 89.3 ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบปฏิบัติได้ดีเพียงร้อยละ 14.3 ผู้ป่วยกลุ่มศึกษามีระดับน้ำตาลในเลือดและค่าความดันโลหิตตัวบนเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆกับการปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาพบว่า ยาหลักที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน และการใช้ยาทุกรายการให้สอดคล้องตามวิถีชีวิตมุสลิมในเดือนรอมฎอน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การเตรียมผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมก่อนเข้าสู่เดือนรอมฎอนและการปรับเปลี่ยนการใช้ยาทุกรายการให้สอดคล้องตามวิถีชีวิตมุสลิมในเดือนรอมฎอนเป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามแผนการรักษาด้วยยาได้ดี และส่งผลดีต่อการรักษาโรค
บทคัดย่อ
The objective of the study was to determine the effect of a health education program on drug use
during the month of Ramadan among diabetic patients with chronic renal failure who attended the diabetic
clinic in Nongjik Hospital, Pattani Province, during 1 October 2009 - 31 December 2010. Of the 56
patients, 28 had the Ramadan education program and home visit (study group) and 28 had usual health
care services (control group). Data from hospital records and the drug use follow-up form during Ramadan
of both groups were reviewed. Both groups had comparable characteristics including sex, age, co-morbidity, serum creatinine, estimated
glomerular filtration rate, microalbuminuria, cardiovascular risk score, number of drugs currently
used, fasting blood sugar, and systolic blood pressure. During Ramadan, good drug practice was significantly
higher in the study group (89.3 %) than the control group (14.3 %). Patients in the study group had
significantly lower fasting blood sugar, and systolic blood pressure than the other group. Factors correlating
with good drug practice were principal antidiabetic drugs and modification of drug use during
Ramadan.
It is essential to prepare drug use among Muslim diabetic patients before Ramadan. Good drug
practice during Ramadan will provide effective treatment results in these patients.