บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมของประชาชนก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการลดน้ำหนักแบบจัดค่ายพิชิตอ้วนพิชิตพุง และแบบควบคุมน้ำหนักของกรมอนามัย 2) เพื่อศึกษาปัญหาความอ้วนและสุขภาพของประชาชน 3) เพื่อศึกษาต้นทุนและต้นทุนประสิทธิผลของโปรแกรมการลดน้ำหนัก เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้เข้าร่วมโปรแกรมแบบจัดค่ายพิชิตอ้วน/พิชิตพุง 40 คน และโปรแกรมลดน้ำหนักแบบกรมอนามัย 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ t-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสูงขึ้น ระดับความดันโลหิต น้ำหนักตัวและรอบเอวลดลง หลังการเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผู้เข้าร่วมโปรแกรมแบบจัดค่ายฯ สามารถลดน้ำหนักในสัปดาห์ที่ 8 และ 16 สัปดาห์ ได้ร้อยละ 87.5 และ 77.5 ผู้เข้าร่วมโปรแกรมแบบกรมอนามัยสามารถลดน้ำหนักในสัปดาห์ที่ 8 และ 16 สัปดาห์ได้ร้อยละ 65.0, 67.5 เมื่อประเมินสัปดาห์ที่ 16 พบว่าต้นทุนเฉลี่ยต่อคนของโปรแกรมแบบจัดค่ายฯ 4,489 บาท สูงกว่าโปรแกรมแบบกรมอนามัยที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อคน 3,518 บาท โปรแกรมแบบเข้าค่ายฯ มีต้นทุน - ประสิทธิผล 5,793 บาทต่อคนที่ลดน้ำหนักได้ โปรแกรมแบบกรมอนามัยมีต้นทุน - ประสิทธิผล 5,212 บาทต่อคนที่ลดน้ำหนักได้ ข้อเสนอแนะโปรแกรมแบบเข้าค่ายพิชิตอ้วนพิชิตพุงมีประสิทธิผลสูงแต่ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการลดน้ำหนักในคนกลุ่มใหญ่เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง สำหรับโปรแกรมของกรมอนามัยมีต้นทุนเฉลี่ยและต้นทุน - ประสิทธิผลต่ำกว่าโดยเฉพาะต้นทุนด้านผู้ให้บริการจึงเหมาะสมจะใช้ในชุมชนมากกว่าแต่ควรปรับหลักสูตรการเรียนในช่วงสัปดาห์แรกเพื่อให้เกิดความรู้อย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อ
The objective of this study was to compare the awareness, attitude and behavior on weight control of
the population before and after their attendance of the Camp for Eradicating Obesity and Belly Program
and the Weight Control Program. The study also took into consideration the efficiency of attending the
programs as one of the determining factor. The study design was the quasi-experimental research, which
studied obesity and health problem of the attendees before and after they had attended both programs.
The selected samples included 40 people who attended the Camp for Eradicating Obesity and Belly Program,
operated by Viseschaichan Hospital, and other 40 people who attended the Weight Control Program
of the Department of Health, operated by Pamok Hospital. The methodologies used in this research
were descriptive analysis, statistics pair t-test and the Pearson Product moment Correlation Coefficient. The study results for both programs shown an increase in awareness, positive attitude and weight
control efficiency. Meanwhile, blood pressure, body weight and waist circumference were decrease and
were significantly different prior to their attendance of both programs at p < 0.05. The samples who attended
the Camp for Eradicating Obesity and Belly Program could reduced weight 87.5 and 77.5 % by 8
and 16 weeks, while those who attended the Weight Control Program of the Department of Health could
reduced weight 65.0 and 67.5 % by 8 and 16 weeks accordingly. By week 16th, the studies found that the
unit cost of attending the Camp for Eradicating Obesity and Belly Program was 4,489 baht, while the
Weight Control Program was 3,518 baht. However, in order for the attendance to lose weight effectively,
the cost-effectiveness for the Camp for Eradicating Obesity and Belly Program and Weight Control Program
were 5,793 and 5,212 baht per person, respectively. The result of this study suggested that the Camp
for Eradicating Obesity and Belly Program was more effective but not appropriate to used in weight
control of large group population because of its high cost. The Weight Control Program of the Department
of Health had lower unit cost and consequently, was more practical due to its cost-effectiveness.