บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์และผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายต่อ 1) การเพิ่มการกระจายและคงอยู่ของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 2) ฐานะทางการเงินของรพช.และ 3) การเพิ่มผลผลิตในการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในรพช. การเก็บข้อมูลแบ่งได้ 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ การกระจายทันตแพทย์ 2548-2552 และประมาณการงบประมาณค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับทันตแพทย์ในรพช.ปี 2552 จากฐานข้อมูลทันตบุคลากรของสำนักทันตสาธารณสุข การโยกย้ายทันตแพทย์จากข้อมูลโยกย้ายและลาออกของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (รอบเดือนเมษายน) ปี 2551-2553 กลุ่มที่ 2 ผลงานการบริการทันตกรรมของรพช.จากฐานข้อมูลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพปี 2551 เปรียบเทียบกับ 2553 กลุ่มที่ 3 สำรวจสถานการณ์การเงินของรพช.ปี 2551-2553 จำนวน 725 แห่ง โดยใช้แบบสอบถาม และกลุ่มที่ 4 ความเห็นของผู้ตรวจราชการกระทรวง 7 เขตจาก 18 เขต ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายไม่สามารถเพิ่มการกระจายและชะลออัตราการโยกย้าย การโยกย้ายที่ปรากฏเป็นการย้ายจากรพช.ในพื้นที่ปกติมีความเจริญน้อยกว่าสู่รพช.ในพื้นที่ปกติที่มีความเจริญมากกว่า 2) ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายยังไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของรพช. เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้รับการสนับสนุนงบกลางในปี 2553 จัดสรรให้กลุ่มรพช.ในวงเงิน 2,750 ล้านบาท 3) เมื่อวิเคราะห์ผลงานบริการทันตกรรมต่อกำลังทันตบุคลากร พบว่าผลงานบริการส่งเสริมป้องกันเฉลี่ย/ทันตาภิบาลปี 2553 เท่ากับ 707 ครั้ง/คน เพิ่มสูงกว่าปี 2551 ส่วนผลงานบริการทันตกรรมพื้นฐานเฉลี่ย/ทันตบุคลากรและผลงานบริการเฉพาะทางเฉลี่ย/ทันตแพทย์ ปี 2553 มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับปี 2551 คือ ผลผลิตในการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในรพช.ไม่มีความแตกต่าง
บทคัดย่อ
The study is aimed at evaluating the recent effects of increasing hardship allowance paid for dentists
who are particularly working in community hospitals. The focused effects were 1) distribution and retention
of dentists; 2) hospital financial status; and 3) performance and productivity of dental workforce. Overview data was collected from many secondary sources such as dentist personnel database and payment
during 2005-2009; dentist mobilization from personnel management database (2008-2010); and dental
service outcome database in 2008 compared to 2010. Primary data included surveying hospital finance
during 2008-2010 using self-reported questionnaire to 725 hospitals and then interviewing a group of 7
senior inspectors in the Ministry of Public Health. The result was revealed that financial measure was
likely to have no impact on distribution pattern or retention of dentist workforce as the mobility found
was mainly from remote areas to rural areas with better social amenity. Regarding community hospital
financial status, paying hardship allowance showed no effect because a budget of 2,750 million baths was
subsidized by the government in 2010. Lastly, comparing performance outcome between 2008 and 2010, it
was found that oral health promotion activities by dental hygienists in 2010 was pushed up to 707 cases/
personnel per annual, while basic dental service performed by the dentist showed no difference in their
productivity.