บทคัดย่อ
หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเพิ่มขึ้นของภาวะโรคอ้วนในเด็ก คือ การโฆษณาของอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อความชอบอาหารและพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก การโฆษณาจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญทางการตลาดในการสร้างการจดจำยี่ห้ออาหาร โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้เด็กมีการบริโภคอาหารเพิ่มมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนตัวและครอบครัว และข้อมูลด้านโภชนาการของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับความสามารถในการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาได้ วิธีการศึกษา ได้เจาะจงเลือกเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมดจำนวน 453 คน และเลือกตัวอย่างโรงเรียนตามสะดวก จากโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเพชรบุรี และใช้แบบสอบถามประเภทให้กรอกคำตอบเอง เพื่อสำรวจข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนและครอบครัว ข้อมูลด้านโภชนาการ และการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารของนักเรียน ผลการศึกษา พบว่า เด็กนักเรียนร้อยละ 64.7 (239 คน) สามารถจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาได้ โดยตอบถูกทุกยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารในข้อถามทั้งหมด 14 ข้อ เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยบริโภคขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม ฟาสต์ฟู้ด และเครื่องดื่มที่มีรสหวานมากกว่าบริโภคผักและผลไม้ นอกจากนี้ ความสามารถในการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณามีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา และอาชีพของมารดา การบริโภคอาหารเช้าทุกวัน การบริโภคขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็มและฟาสต์ฟู้ด ดังนั้น ความสามารถในการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน อย่างไรก็ตาม การรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพควรมุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนตระหนักในการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะมีผลต่อการเกิดโรคอ้วน
บทคัดย่อ
One of the factors that contribute to obesity in children is food advertisement because it can influence
the eating behaviour of children. Advertising is a marketing strategy to build brand recognition of food. The goals are to promote the product and increase children’s food consumption. . The objectives of
this survey research were to assess the recognition of brand logos among students in primary 6and to
examine the relationship between individuals’ abilities to recognize brand logos and their demographic
eating behaviour. Methods: There were 453 children from two primary schools in Bangkok and in
Phetchaburi joined in this study by purposive sampling. A self-administered questionnaire survey was
administered to gather demographic characteristics, nutrition, and their abilities to recognize brand logos.
This study found that 64.7% (239 students) of the children demonstrated a high brand logos recognition
recognizing 14 food brand logos in the questionnaire. Among these children, the number of children who
ate unhealthy food; consumption of snack, fast foods, and soft drinks was higher than those who ate
vegetables and fruit. In addition, BMI, parent’s educational level, mother’s occupation, habit of eating
breakfast every day, eating snacks and, fast foods were associated with the abilities to recognize brand
logos. To conclude, there is a correlation between poorer eating behaviours and brand logos recognition
ability of school children. However, health promotion campaign should be emphasized among school
children to increase their awareness of how unhealthy eating habit can affect obesity