บทคัดย่อ
การควบคุมราคายาเป็นส่วนหนึ่งของการจำกัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ บทความนี้ทบทวนวิธีควบคุมราคายาในประเทศที่พัฒนาแล้ว วิเคราะห์ประสบการณ์ที่ผ่านมาของประเทศไทยในการควบคุมราคายาภาครัฐ และนำเสนอข้อค้นพบล่าสุดของแผนงานวิจัยราคายา (พ.ศ. 2553-2555) ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการควบคุมราคายาสำหรับอนาคต ทั้งด้านราคาซื้อของระบบบริการสุขภาพและราคาเบิกจ่ายของระบบประกันสุขภาพ นโยบายควบคุมราคายาควรเริ่มจากเครื่องมือควบคุมราคาทางอ้อมที่มีอยู่แล้ว คือ การใช้บัญชียาหลักแห่งชาติ และการเพิ่มขีดความสามารถในการกำหนดราคาซื้อสำหรับยาใหม่โดยพัฒนานวัตกรรมการจัดซื้อร่วมและต่อรองโดยร่วมมือกับกองทุนในระบบประกันสุขภาพ ควรพัฒนากลไกติดตามราคายาที่โรงพยาบาลจัดซื้อ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน การกำหนดราคาเบิกจ่าย ควรปรับราคาสำหรับยาชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติให้มีอัตราที่จูงใจโรงพยาบาล นอกจากนี้ ควรมีหน่วยงานพัฒนาและบำรุงรักษาข้อมูลคุณลักษณะของยาเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ข้อมูลป้อนกลับสำหรับการต่อรองราคาซื้อและกำหนดราคาเบิกจ่าย ในระยะยาว ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการติดตามราคายา ตั้งแต่ขั้นตอนการเสนอเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ การซื้อจริงโดยสถานพยาบาล และการใช้ยาและเบิกจ่ายค่ายาในระดับรายบริการของสถานพยาบาล
บทคัดย่อ
Drug price control is one of the measures to contain health care costs. This paper briefly reviewed
the price control methods that have been commonly employed in developed countries. Experience in controlling drug prices by government agencies in Thailand was analyzed and recent findings from the
Research Projects on Drug Prices (B.E. 2553-2555) that have been supported by the Health Systems Research
Institute were summarized. Policy recommendations for the control of both purchased and reimbursed
prices were additionally proposed. The National Lists of Essential Medicines should be strategically
mobilized as an indirect measure of price control. To control the purchased prices of new drugs,
innovative strategies of pool purchasing and price negotiation should be implemented under collaboration
with health insurance funds. Routine monitoring of the hospital-purchased prices should be supported
so as to obtain the regular and update information on drug pricing. The reimbursed price of a
generic drug that is covered by the National Lists of Essential Medicines should be set at an adequately
high rate that can incentivize the use. An agency for the development and maintenance of standardized
drug databases should be established. The long-run development should include the price monitoring
infrastructure in every step, from essential drug selection, drug purchasing, utilization and reimbursement.