บทคัดย่อ
การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนบ้านแม่พุง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และทีมสุขภาพในคลินิกความดันโลหิตสูง ชุมชนบ้านแม่พุง จำนวน 29 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2549 แล้วจัดกลุ่มข้อมูลนำไปวิเคราะห์โดยเนื้อหาเชิงลึกและตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า ผลการศึกษาแสดงว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่ถูกต้อง เรื่องการกินอาหารและการปรุงอาหาร สาเหตุจากความเคยชิน การต้องกินอาหารร่วมกันและความเกรงใจผู้ที่ทำอาหารให้ ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกกำลังกาย เนื่องจากต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ทำให้เหน็ดเหนื่อย ไม่มีเวลา อ่อนแรงเพราะสูงอายุ ส่วนใหญ่มีภาวะเครียดจากภาระหนี้สิน เรื่องการร่วมกิจกรรมในชุมชนของหมู่บ้าน ทุกคนช่วยงานกันและกินอาหารร่วมกัน โดยกลุ่มแม่บ้านเป็นผู้ปรุงอาหารตามปรกติ ไม่แยกอาหารเฉพาะโรค ข้อเสนอแนะจากการสนทนากลุ่มระหว่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้ถูกต้อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรเน้นให้ทุกคนในชุมชนตระหนักและเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมการกินอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
บทคัดย่อ
The objective of this study was to observe the behavior of hypertensive patients along
with the factors affecting their self-care practice. The qualitative study was conducted during
the period July - December 2006 and involved 29 diagnosed hypertensive patients, the persons
who took care of them, the leaders of the health-care team in the community, and the healthcare staff of the local hypertensive clinic. Information was collected by personal interview,
group discussion, and observation. Data were analyzed and checked by using the content
analysis and triangulation techniques, respectively.
The results were as follows: most of the hypertensive patients pursued inappropriate
self-care behaviors, including food consumption behavior, cooking in familiar ways, consuming food together in companion groups, with the choice of the food being provided at the
discretion of the cooks. Among the factors affecting them were insufficient physical exercise
owing to fatigue or no extra time due to their overwhelming responsibility of providing family care. A minority group could not perform the physical activities due to senile frailness.
Most patients suffered stress from varying causes including debt. With regard to the factors
affecting tension, the most serious was the liability they faced. In the group discussion, the
patients and persons who took care of the patients criticized the health-care providers with
regard to patient behaviors on food consumption and regular exercise.