บทคัดย่อ
จากการที่มีการขยายตัวของชุมชนเขตเมืองเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองมีความสำคัญมากขึ้น การศึกษารูปแบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองในประเทศต่างๆจะช่วยให้ได้เรียนรู้รูปแบบที่ดีและนำมาปรับใช้กับระบบบริการของประเทศต่อไปได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิเขตเมืองในต่างประเทศ และเปรียบเทียบการจัดบริการดังกล่าวของประเทศเหล่านั้น วิธีการศึกษาเป็นการทบทวนเอกสารเปรียบเทียบระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองใน 14 ประเทศ คือ บราซิล แคนาดา สเปน คิวบา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยียม อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ตามกรอบแนวทางการประเมินระบบบริการปฐมภูมิขององค์การอนามัยโลกภูมิภาคยุโรป (Primary Care Evaluation Tool : PCET of WHO European Region) จากการศึกษาพบว่าประเทศที่มีระบบผู้เฝ้าประตู (gatekeeper) ไม่ว่าจะโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะส่งผลให้มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีการประสานความร่วมมือในการดูแลที่ดี ส่งผลต่อการรักษาพยาบาลและการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ประเทศส่วนใหญ่ที่รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีการจัดบริการโดยมีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นด่านหน้าคอยคัดกรองผู้ป่วย ประเทศที่ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในรูปแบบประกันสุขภาพภาคบังคับจะไม่มีระบบผู้เฝ้าประตูคอยคัดกรองผู้ป่วย แต่มีการนำระบบให้ผู้ป่วยร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลเข้ามาใช้ในการควบคุมการใช้บริการเกินความจำเป็น
บทคัดย่อ
People living in urban areas are growing; therefore, urban primary medical care is more crucial.
Studying urban primary care systems in various countries will make us learn from best practice in each
country which may be applied to Thai urban medical system. Objectives of this study were to analyze and
compare urban primary care systems among each country. Study design was documentary research about
urban primary care systems in 14 countries including Brazil, Canada, Spain, Cuba, Republic of Korea,
Japan, Taiwan, Hong Kong, Denmark, Sweden, Belgium, United Kingdom, United States of America, and
Australia. Primary Care Evaluation Tool (PCET) of WHO European Region was used as a framework for
analysis. From this study, countries with gatekeeper system (patients were screened by general practitioners
or family physicians ) had good continuous, collaborative, and coordinate care with appropriate
health care costs. Most of countries which governments spent budget for people’s medical care expenses
had provided general practitioners or family physicians as gatekeepers acting in patients screening. There
was no gatekeeper system in countries which people were responsible for their own medical care expenses
but co-payment system was involved to reduce unnecessary service uses.