บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการคงอยู่ในชนบทของแพทย์ภายหลังการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในปี 2552 เก็บข้อมูลทุติยภูมิจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ทราบรูปแบบการเคลื่อนย้ายของแพทย์ในระหว่างปี 2544-2554 และวิเคราะห์โอกาสการคงอยู่ในกระทรวงสาธารณสุขและในชนบทโดยใช้สถิติ survival analysis ผลการศึกษาพบว่าแนวโน้มการเคลื่อนย้ายของแพทย์จากชนบทภายหลังการเพิ่มค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานที่ชนบทก่อนการชดใช้ทุนครบ 3 ปีแล้วนั้นไม่แตกต่างกับก่อนการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย นอกจากนั้นพบว่าแนวโน้มการออกจากกระทรวงสาธารณสุขมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้หลังการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายอาจจะทำให้อัตราการลาออกจากราชการไม่เพิ่มขึ้นมากนักใน 2 รุ่นหลัง แต่ในด้านการคงอยู่ในชนบทของแพทย์ยังลดลงในทุกรุ่น แม้แต่รุ่นที่ได้รับผลจากการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในปี 2552 ได้แก่ รุ่นปี 2549 และ 2550 ซึ่งมีการคงอยู่ในชนบทของแพทย์ลดลงเช่นเดียวกับรุ่นอื่นๆ อย่างไรก็ตามในการที่จะธำรงกำลังคนไว้ในระบบให้นานขึ้นนั้นควรจะพิจารณาแรงจูงใจที่หลากหลาย ได้แก่ แรงจูงใจด้านการเงินและแรงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น สถานที่ปฏิบัติงานใกล้ภูมิลำเนา มีโอกาสศึกษาต่อ มีความก้าวหน้าเร็วกว่าการทำงานในเมือง ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ทำงานและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เป็นต้น
บทคัดย่อ
This study aimed to assess the impact of a financial measure on public and rural facility retention of
physicians in Thailand. It used a retrospective approach using secondary data from the Ministry of Public
Health (MoPH). The study population included all physicians who graduated and entered the workforce
during 2001-2007, and the data were retrieved from 2001-2011. Survival analysis was used.
Results showed that the high turnover rate of young physicians was still persistent. Large proportions
of physicians, at about 30%, resigned before the 3-year compulsory contract ended, and this trend
repeated even after the financial measure was implemented. Resignations from MoPH have increased
since 2001, and the rate remained high after the increase of special allowance. Rural retention was low,
especially after 3 years of compulsory public services. The proportion of physicians retained in the rural
area after the 3-year compulsory period was about 20-24%, and this trend repeated even after implementation
of the financial measures in 2009.
The results suggested that to retain physicians in the rural area we need both the financial and nonfinancial
measures in an appropriate combination. Non-financial measures such as, working close to hometown,
opportunities for specialist training, improvement of work environment and infrastructure would
be important for rural retention of physicians as well.