บทคัดย่อ
ความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์เป็นสิ่งที่ถูกคำนึงถึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเป็นหลักการหนึ่งที่ช่วยในการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพ แต่ข้อมูลในเรื่องการประยุกต์ใช้หลักความคุ้มค่าในระดับเวชปฏิบัตินั้นกลับมีอยู่น้อยมาก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้จึงเพื่อศึกษาทัศนคติของแพทย์เกี่ยวกับเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การควบคุมราคาของบริการสุขภาพ อุปสรรคในการประยุกต์ใช้ และแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในเวชปฏิบัติ การศึกษานี้เป็นการสำรวจแบบภาคตัดขวางโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติของแพทย์ในเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในเวชปฏิบัติ ประชากรเป้าหมายคือแพทย์ทั้งหมดที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 12 ถึง 26 มีนาคม 2555 จำนวน 140 คน แบบสอบถามประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ ทัศนคติของแพทย์เกี่ยวกับการควบคุมราคาของบริการสุขภาพ อุปสรรคในการประยุกต์เรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในเวชปฏิบัติ และแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในเวชปฏิบัติ ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามคิดเป็นร้อยละ 52.1 ของแพทย์ทั้งหมดในโรงพยาบาล พบว่าทัศนะคติของแพทย์ร้อยละ 68.5 เห็นด้วยว่าควรมีการพิจารณาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขประกอบการตัดสินใจทางเวชปฏิบัติ ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 76.7 เห็นด้วยกับการควบคุมราคาในระบบประกันสุขภาพในปัจจุบัน อุปสรรคหลักของการใช้เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในการตัดสินใจในเวชปฏิบัติ คือ 1) สังคมไม่เต็มใจยอมรับในเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัด และ 2) ความคาดหวังในเรื่องบริการทางการแพทย์ที่มากเกินกว่าระบบสาธารณสุขจะแบกรับได้ ผลการวิจัยได้แสดงถึงแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแพทย์คือ Clinical practice guideline คิดเป็นร้อยละ 96 นอกจากนี้ข้อมูลจากแหล่งเดียวกันที่นำเสนอด้วยวาจาจะได้รับความสนใจมากกว่าในรูปแบบการเขียน การพิจารณาใช้ข้อมูลด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการตัดสินใจทางเวชปฏิบัติสามารถช่วยปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากรในระบบสาธารณสุขของไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ ข้อมูลจากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการสร้างนโยบายเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
บทคัดย่อ
Efficiency in clinical practice has become of increasing concern in the healthcare system in Thailand.
Cost-effectiveness analysis is a concept that helps in the efficient allocation of healthcare resources; however,
evidence showing the use of the cost-effectiveness (CE) information in clinical practice in Thailand is
limited. The aim of this study is to assess physicians’ attitudes towards the use of CE information in
clinical practice.
A cross-sectional survey was carried out to collect information from 140 physicians at Suratthani
Hospital, a central hospital in Southern Thailand, during 12-26 March 2012. The questionnaire consisted
of 3 main parts: physicians’ attitudes, obstacles in the use of CE in clinical practice, and sources of CE
information.
The results showed that the sample response rate was 52.1%. Concerning physicians’ attitudes, 68.5%
of physicians agreed that it is appropriate to consider CE information in the clinical decision-making
process. 76.7% of physicians agreed that cost containment in current healthcare system is necessary. The
main obstacles in the use of CE in clinical decisions are: 1) unwillingness to accept that healthcare resources
are limited by the public; and 2) social expectation for medical services exceeding the capacity of
public health system. Results pertaining to the source of CE information showed that 96% of physicians
attributed CE results to clinical practice guidelines. In addition, CE information from the same source
gains more attention from physicians when presented verbally rather than in written form.
Increasing the use of CE information in clinical decision-making is one way to improve efficiency in
resource allocation in the healthcare system. Findings from this study can be used to inform policies that
promote more efficient utilization of healthcare resources.