• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เหตุใดคนเชียงใหม่เมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุจึงไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน

ณัชชา หาญสุทธิเวชกุล; บริบูรณ์ เชนธนากิจ; บวร วิทยชำนาญกุล; Natcha Hansudewechakul; Boriboon Chenthanakij; Borwon Wittayachamnankul;
วันที่: 2555-06
บทคัดย่อ
การเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นของประชากรไทย การมีระบบการดูแลก่อนถึงโรงพยาบาลที่ดีจะช่วยลดอัตราการสูญเสียได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายให้โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศจัดตั้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้นเพื่อลดอัตราการตายและลดความพิการ แต่การเรียกใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดเชียงใหม่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ส่วนใหญ่เมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุมักจะมาโรงพยาบาลด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ ศึกษาสาเหตุของการไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้มาใช้บริการห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เมื่อเกิดความเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเกิดอุบัติเหตุ เพื่อหาโอกาสพัฒนาและรณรงค์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และของจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป กลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษา การศึกษาโดยการสังเกตเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้นำส่งหรือผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ที่มีระดับความรุนแรงจากการคัดแยก (Triage) เป็นระดับที่ 1 Resuscitation ระดับที่ 2 Emergency และระดับที่ 3 Urgency โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มาเองและกลุ่มที่มาด้วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงตุลาคม พ.ศ.2554 ผลการวิจัย มีผู้เข้าร่วมในการศึกษาทั้งหมด 102 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง 64 ราย และกลุ่มที่มาโรงพยาบาลด้วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 38 ราย ทั้งหมดเป็นผู้ป่วยอุบัติเหตุ(trauma) 44 ราย ผู้ป่วยฉุกเฉิน (non trauma) 58 ราย แบ่งตามระดับการคัดแยก (Triage) เป็นระดับที่ 1 Resuscitation 4 ราย ระดับที่ 2 Emergency 42 ราย ระดับที่ 3 Urgency 56 ราย โดยปัจจัยทางด้านเพศ ระดับการศึกษาและอาชีพไม่มีผลต่อการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน สาเหตุที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอันดับแรกให้เหตุผลว่ามีรถส่วนตัวสามารถมาโรงพยาบาลเองได้ร้อยละ 64.1 อันดับที่สองคือไม่รู้จักบริการการแพทย์ฉุกเฉินร้อยละ 50 และอันดับที่สามคือรู้สึกว่าการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยนั้นเล็กน้อยไม่จำเป็นต้องเรียกรถพยาบาลมารับร้อยละ 25 สื่อที่ทำให้รู้จักบริการการแพทย์ฉุกเฉิน อันดับแรกคือป้ายโฆษณาหรือป้ายข้างทาง รองลงมาคือโทรทัศน์และวิทยุตามลำดับ สรุป สาเหตุที่คนเชียงใหม่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน เกิดจากการไม่ทราบถึงบริการ ไม่เห็นความสำคัญ และไม่ไว้วางใจในบริการ

บทคัดย่อ
Background: Acute illness and accidents are the leading cause of death in Thailand. Developing a good systematic pre-hospital care can help reducing morbidity and mortality. To achieve this goal, the Ministry of Public health has issued a policy for all hospitals in Thailand to set up an Emergency Medical Service (EMS) system. Nevertheless, this service system is not widely acknowledged in Chiang Mai. Most of the patients did not use the service and go to the hospital by themselves Objective: To determine reasons of underuse of Emergency Medical Service in patients visiting the Emergency room, Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital. Methods: This was a prospective observational study by means of questionnaires filled by the patients or anyone accompanied them to the emergency room, Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital. Only 3 level of triage was used; level 1-Resuscitation, level 2-Emergency, and level 3-Urgency. This study was conducted during the period from March to October 2011. Analysis was made by dividing participants into 2 groups; patients coming to the emergency room by themselves, and the ones coming by using EMS system. Results: There were 102 participants; 64 coming by themselves and 38 using EMS. There were 44 traumatic patients, and 58 non traumatic patients. 4 participants were of triage level 1 Resuscitation, 42 of triage level 2 Emergency and 56 of triage level 3 Urgency. Sex, degree of education and occupation were not related to EMS activation. Many reasons accounted for this problem; 64.1% of the patients had their own vehicles, 50% did not know of the service, and 25% thought that their symptoms were insufficient to activate EMS system. People in Chiang Mai learned of the EMS system through many advertising media, in sequentially billboards, television, and radio programs. Conclusion: The reasons of underuse of EMS system in Chiang Mai were: unknown of existence, failure to recognize the importance, and doubt in the Emergency Medical Service systems.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v6n2 ...
ขนาด: 271.2Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 157
ปีพุทธศักราชนี้: 104
รวมทั้งหมด: 2,263
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV