บทคัดย่อ
การศึกษาทำในช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2549 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคกับความชุกของสภาพฟันตกกระและฟันผุ ในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาในเขตอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการทำงานแบบบูรณาการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาฟันตกกระ โดยการตรวจหาปริมาณฟลูออไรด์ในตัวอย่างน้ำบริโภค 426 ตัวอย่าง สุ่มเก็บจาก 87 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 ตัวอย่าง และสำรวจสภาพฟันตกกระและฟันผุในเด็กนักเรียน 2,281 คน ครอบคลุมทุกโรงเรียนในพื้นที่ที่ศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ไฆสแควร์ การทดสอบที และ Anova จากการสำรวจพบฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคในปริมาณสูงกว่ากำหนดมาตรฐานใน 13 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตตำบลบ้านช่อง และบางส่วนของตำบลเขาหินซ้อน ตำบลหนองยาว และตำบลท่าถ่าน ซึ่งพื้นที่ที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคสูงพบเด็กฟันตกกระร้อยละ 35.9 ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคสัมพันธ์กับความชุกของฟันตกกระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.000) ในพื้นที่ที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคสูงยังพบค่าเฉลี่ยของฟันผุสูงกว่าพื้นที่ที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคต่ำด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะศึกษาต่อไปว่าเกิดจากปัจจัยใด เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้ในกระบวนการประชาคมหมู่บ้านในพื้นที่ที่มีปริมาณฟลูออไรด์สูง เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ปัญหา ค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และร่วมกันตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับตนเอง เป็นการบูรณาการการทำงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไข ได้แนวทางดังนี้ การรณรงค์ให้ประชาชนบริโภคน้ำฝนแทนน้ำประปาหรือบาดาลเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลให้การสนับสนุนงบประมาณในการหาแหล่งน้ำดิบใหม่สำหรับทำน้ำประปา ปรับปรุงถังเก็บน้ำฝนในโรงเรียน และสร้างถังเก็บน้ำฝนสำหรับใช้ในชุมชน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ตรวจเฝ้าระวัง รายงานสถานการณ์โรค และสนับสนุนด้านวิชาการ
บทคัดย่อ
Objective: The purposes of the study in Panomsarakham District, Chachoengsao
Province, were as follows: 1) to survey the quantity of fluoride in drinking water sources;
2) to determine the prevalence and severity of dental fluorosis in district elementary
schools, and its relationship to the presence of fluoride; and 3) to encourage community
participation in solving the dental fluorosis problem.
Method: 1. Collection of 426 water samples from 87 villages; these were sent for
fluoride detection by ion-specific selection method (electrode); 2. a cross-sectional study
was conducted on 2,281 elementary students in grades 1-6 resident in Panomsarakham
district, for the presence of fluorosis and caries; and 3. resorting to community participation with local authorities.
Result: Highly fluoridated drinking water was found in 13 of 81 villages, and the
levels were especially high in Bansong, Nongyao, Kaohinsorn and Tatan villages. The
dental fluorosis prevalence rate was 35.9 percent among students from highly fluoridated
villages, and only 12.7 percent among those from villages where the level of fluoridation
is low. The severity of dental fluorosis depends on the concentration of fluoride in drinking water, with statistical significance being p=0.000. The mean DMFT was 1.46 in a
highly fluoridated village while it was 1.42 in a village where fluoridation was low. It
was noticed that the highly fluoridated area still had higher rates of dental caries compared with the area with a low level of fluoridation, which is contrary to the findings of
other reports; this aspect requires further study in the future.
Conclusions: High levels of fluoridation in drinking water were found and its presence directly related to the prevalence and severity of dental fluorosis. Therefore, the
problem should be solved by stakeholders [government, communities and politicians],
i.e., the communities concerned should take responsibility for a campaign to change the
source of drinking water; politicians should provide a budget for intervention and the
government should support surveillance and the provising of data.