บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน และหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎี PRECEDE MODEL ของ Lawrence Green กลุ่มตัวอย่างได้จากผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานในช่วงวันที่ 1-30 มิถุนายน 2549 จำนวน 204 คน เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน การศึกษาพบว่าพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในระดับพอใช้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวาน การรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การมีทักษะของผู้ป่วย และการได้รับการสนับสนุนจากคู่สมรส บิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสนับสนุนจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินมากที่สุด คือ การได้รับสนับสนุนจากคู่สมรส บิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้ง 2 ปัจจัยสามารถอธิบายร่วมกันได้ร้อยละ 12.90 (R=0.129) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่ากลวิธีทางสุขศึกษา เช่น การประชุมอบรม, การชมภาพยนตร์ สไลด์ วีดิทัศน์, การให้ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อมีความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน รวมทั้งการให้ความรู้แก่บุคคลในครอบครัว สามีภรรยา ผู้ดูแลผู้ป่วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน และการจัดตั้งชมรมผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นในหมู่บ้าน จะมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติหรือใกล้เคียงปรกติได้
บทคัดย่อ
This research study was conducted on 204 non-insulin dependent diabetes patients
to assess their behavior and the relationship between supporting factors, by making
practical use of the theory of the PRECEDE Model of Lawrence Green, which involves
studying cross-sectional data collected by survey, using structural interviews. The study population (n = 204) was obtained by simple random sampling from the non-insulin
dependent diabetes patients attending the diabetes clinic in the period June 1-30, 2006.
Descriptive data were submitted for Pearson’s coefficient and multiple regression analyses. The results were that the behavior in controlling the blood glucose level among
non-insulin dependent diabetes patients was at a moderate level. Knowledge of diabetes
(p<0.01), perceived susceptibility to diabetes (p<0.01), perceived severity of diabetes
(p<0.01), benefits and cost of following the advice and suggestions of health officers
(p<0.01), the skill of a diabetic (p<0.01), and promotion by spouse, parents, relatives, siblings, neighbors, co-workers, doctors, nurses and public health officers (p<0.01) are positively and statistically significant related to the behavior of blood glucose level control.
The results of the stepwise multiple regression analysis revealed that the factors affecting
the behavior of blood glucose level control in non-insulin dependent diabetes patients
can be promoted by their spouses, parents, relatives, siblings, neighbors, co-workers,
doctors, nurses and public health officers (p<0.001) and the benefits and cost of following
the advice and suggestions of public health officers (p<0.01). The two variances were in
line with the prediction at 12.90% (R
2
=0.129). Information obtained from the present
study suggests that the use of certain health strategies, such as meetings, trainings, movies, slides, videos, and showing actual data, would enable the patients to gain more knowledge about the complication of diabetes which might occur in them. Such strategies
could also give knowledge to their family members (spouses, siblings, as well as public
heath volunteers of the village, and community leaders), and lead to the establishment of
a diabetes club in their village. Such steps would encourage the patients to take control of
their blood glucose levels so that thay become normal or near normal.