บทคัดย่อ
ที่โรงพยาบาลเชียงแสนได้ให้การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีชาวพม่าลาวด้วยยาเอชไอวี โดยใช้แนวทางโครงการของประเทศไทย การศึกษาออกแบบการเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ตัวชี้วัดผลลัพธ์คือ การวัดความร่วมใจในการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี อัตราการรอดชีวิต ผลลัพธ์ทางเวชกรรมและผลการดำเนินโครงการ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมฟูเซีย (FUCHIA Program) วิเคราะห์การรอดชีวิตโดยวิธีเคพแลน-ไมเออร์ ผลพบว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มิใช่ชาวไทยจำนวน 73 ราย ได้รับยาต้านเอชไอวีตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2547 จนถึงเดือนมิถุนายน 2550 มีผู้ป่วย 19 รายเป็นชาวลาว (16 รายอาศัยอยู่ในประเทศของตน) ผู้ป่วย 51 รายเป็นชาวพม่า (20 อาศัยอยู่ในประเทศของตน) และอีก 3 รายเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในเชียงแสน ค่าความร่วมใจในการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 98.2 ระยะเวลาการรอดชีวิตเฉลี่ย 41 เดือน (ร้อยละ 95 ของค่าความเชื่อมั่น 39.0-43.2) การรอดชีวิต ณ สัปดาห์ที่ 36 ร้อยละ 96 ผู้ป่วยจำนวน 3 รายเสียชีวิตภายหลังการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี (2 รายเสียชีวิตจากโรคระยะเอดส์ และ 1 รายเสียชีวิตจากผลไม่พึงประสงค์จากการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี) ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่ขาดการติดตามหรือหยุดการรักษา ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจำเป็นต้องเปลี่ยนยาตัวใดตัวหนึ่งจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ สุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาดีขึ้น การเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีเพิ่มการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในแนวทางป้องกัน ผู้ป่วยจำนวน 11 ราย ได้รับเงินทุนกู้ยืมในการประกอบอาชีพและผู้ป่วยจำนวน 1 รายได้รับเงินทุนการศึกษา โครงการดังกล่าวเป็นรูปแบบหนึ่งของการที่ผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีในบริเวณพื้นที่ชายแดนและเป็นรูปแบบหนึ่งที่ประเทศไทยสามารถให้การสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้าน ผลประโยชน์แท้จริงและความยั่งยืนของโปรแกรมจำเป็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป
บทคัดย่อ
Chiang Saen Hospital has provided antiretroviral therapy (ART) to people infected
with HIV, especially the Burmese and Laotians residing in Thailand or in their own countries. The guidelines of the country program were applied. The cohort study design
measured ART adherence, survival rate, clinical outcomes, result of the prevention approach and psychological support as outcome indicators. Data were collected and analyzed using FUCHIA software. The Kaplan-Meier method was conducted for survival
analysis. The results revealed that 73 non-Thai PLHA (people living with HIV/AIDS)
who received ART from July 2004 to June 2007 (19 Laotians, 16 of whom resided in their
own country; 51 Burmese, 20 of whom resided in their own country, and three minority
people residing in Chiang Saen. Mean ART adherence was more than 98.2 per cent. Mean
survival time in months was 41 (95% CI 39.0-43.2). Survival at 36 weeks was 96 percent.
Three cases died after ART, two from AIDS and one from the adverse effects of ART. No
case had been lost to follow-up or stopped treatment. Thirty per cent of the patients
needed to change individual drugs due to adverse effects. The health of those on treatment improved. Access to ART increased the uptake of service in the prevention approach. Eleven cases received vocational loans and one case received an education fund.
It is one model of how the disadvantaged can access ART in cross-border areas and how
Thailand can support its neighbors. However, the effectiveness and the sustainability of
the program still need to be considered