บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการใช้ยาปฏิชีวนะ ระบบและกลไกการควบคุมและการเฝ้าระวังการใช้ยาปฏิชีวนะรวมทั้งมาตรการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิก และร้านยา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบด้วยตนเอง (Self-administered questionnaire) ใน 9 จังหวัด ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2555 ผลการศึกษาเบื้องต้นจากแบบสอบถามที่ได้รับคืน 484 ชุด (ร้อยละ 30) ประกอบด้วยโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ 10 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 53 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 11 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 184 แห่ง คลินิก 69 แห่ง และร้านยา 157 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า จากยาปฏิชีวนะ 47 ชนิดที่ระบุในแบบสอบถาม โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่มียาปฏิชีวนะดังกล่าวทุกชนิด คลินิกและร้านยามีจำนวนชนิดของยาปฏิชีวนะใกล้เคียงกัน คือ 35 และ 36 ชนิดตามลำดับ โดย Ceftriaxone ซึ่งเป็น third generation cephalosporins และยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Fluoroquinolones พบได้ในสถานพยาบาลทุกระดับรวมทั้งร้านยา ความเห็นต่อมาตรการควบคุมการกระจายยาปฏิชีวนะ พบว่าหากกำหนดให้ยาปฏิชีวนะทุกชนิดเป็นยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์จะมีความเห็นขัดแย้งระหว่างประเภทของสถานพยาบาลและร้านยาค่อนข้างมาก เช่น ร้อยละ 82 ของโรงพยาบาลเอกชนเห็นด้วย ขณะที่ร้านยาเห็นด้วยเพียงร้อยละ 8 แต่หากกำหนดให้ยาปฏิชีวนะบางชนิดเป็นยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ความเห็นขัดแย้งดังกล่าวลดลง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีการจ่ายยาปฏิชีวนะในโรคที่พบบ่อยและส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น โรคติดเชื้อระบบการหายใจส่วนบน อุจจาระร่วงเฉียบพลัน น้อยกว่าคลินิกและร้านยา (ร้อยละ 35–40 และ 43–56 ตามลำดับ) โรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐส่วนมาก (ร้อยละ 90) ใช้มาตรการ Drug Utilization Evaluation (DUE) ขณะที่โรงพยาบาลชุมชนส่วนมาก (ร้อยละ 98) ใช้มาตรการ Antibiotics Smart Use (ASU) ในการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล การวิจัยนี้แสดงถึงความจำเป็นในการมีมาตรการการควบคุมการกระจายยาปฏิชีวนะที่เข้มงวดขึ้นโดยมีมาตรการการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลควบคู่กันไป
บทคัดย่อ
The study explored the patterns of antibiotic utilization, the antibiotic control and surveillance systems,
and measures in promoting rational use of antibiotics among public and private hospitals, health
promoting hospitals, clinics, and drug stores. A cross-sectional survey using self-administered questionnaires
was conducted in 9 purposive sampling provinces in Thailand during April-May 2012. The preliminary
results were analyzed from 484 returned questionnaires (30% response rate) from 10 large public
hospitals, 11 private hospitals, 53 district hospitals, 184 sub-district health promoting hospitals, 69 private
clinics and 157 drug stores. The findings revealed that all of 47 items of antibiotics listed in the questionnaire
were available in large public hospitals whereas private clinics and drug stores had 35 and 36 items
of antibiotics, respectively. Ceftriaxone, a third generation cephalosporin, and fluoroquinolones were available
in all levels of healthcare facilities as well as drug stores. A measure regulating prescription only sales
of all antibiotics created a wide range of disagreements among respondents from different health facilities
i.e. a vast majority of private hospitals (82%) but only 8% of drug stores agreed with such a measure.
However, the regulatory measure emphasizing prescription only sales of some antibiotics appeared to be
acceptable for all levels of health facilities and drug stores. The rate of antibiotic prescription for upper
respiratory infection and acute diarrhea in district health promoting hospitals (35% - 40%) was lower than
those in the private clinics and drug stores (43% - 56%). Most large public hospitals (90%) applied drug
utilization evaluation whereas almost all district hospitals (98%) implemented the antibiotics smart use
concept in promoting rational use of antibiotics. The study results demonstrated that operating systems to
strengthen antibiotic regulation and to promote rational use of antibiotics are strongly needed in all levels
of health facilities and drug stores.