Show simple item record

Increasing access to high-cost medicine under the 2008 National List of Essential Medicines (NLEM): from policy to practice

dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ ตุรงคราวีth_TH
dc.contributor.authorวรัญญา รัตนวิภาพงษ์th_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา คำผางth_TH
dc.contributor.authorพัทธรา ลีฬหวรงค์th_TH
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสth_TH
dc.contributor.authorSaowalak Turongkaraveeen_EN
dc.contributor.authorWaranya Rattanavipapongen_EN
dc.contributor.authorRoongnapa Khampangen_EN
dc.contributor.authorPattara Leelahavarongen_EN
dc.contributor.authorYot Teerawattananonen_EN
dc.contributor.authorSripen Tantivessen_EN
dc.date.accessioned2012-10-30T04:36:54Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:15:52Z
dc.date.available2012-10-30T04:36:54Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:15:52Z
dc.date.issued2555-09en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 6,3(ก.ค.-ก.ย. 2555) : 382-394en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3702en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการนำนโยบายเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพงในบัญชียา จ (2) ของบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2551 ไปสู่การปฏิบัติโดยโครงการประกันสุขภาพภาครัฐ ได้แก่ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โครงการสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและโครงการประกันสังคม และโรงพยาบาลต่างๆ นอกจากนี้ ยังศึกษาปัจจัยที่ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย และปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ระเบียบวิธีศึกษา: การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายบัญชียา จ (2) ผลการศึกษา: 1) การดำเนินการโดยโครงการประกันสุขภาพภาครัฐ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้กำหนดแนวทางกำกับการใช้ยาในบัญชียา จ (2) รวมถึงระเบียบหลักเกณฑ์อื่นๆ เพื่อให้โครงการประกันสุขภาพภาครัฐทั้งสามโครงการและโรงพยาบาลนำไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นโครงการเดียวที่พัฒนาระเบียบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบัญชียา จ (2) ขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าโครงการประกันสุขภาพทั้งสามโครงการได้ดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาในบัญชียา จ (2) บางรายการมาก่อนที่จะมีนโยบายบัญชียา จ (2) เกิดขึ้น โดยมีการบริหารจัดการการสั่งใช้ยาเหล่านี้ที่แตกต่างจากระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้บัญชียา จ (2) ในบางประการ 2) การดำเนินนโยบายบัญชียา จ (2) ในระดับโรงพยาบาล ผู้บริหาร แพทย์ผู้สั่งใช้ยา และเภสัชกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมในการศึกษานี้เห็นด้วยกับนโยบายเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพงในบัญชียา จ (2) เนื่องจากมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลในส่วนของผู้ป่วยภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งช่วยให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลมากขึ้นจากการมีแนวทางกำกับการใช้ยาที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามกฎระเบียบต่างๆที่คณะอนุกรรมการฯ และโครงการประกันสุขภาพภาครัฐกำหนดขึ้นกลับทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ปฏิบัติ เนื่องจากทำให้เกิดความสับสน และมีความหลากหลายในการบริหารจัดการในแต่ละโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังพบปัญหาจากการปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากำหนดในบางขั้นตอน และการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยภายใต้โครงการสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ล้วนเป็นอุปสรรคที่สำคัญของผู้ปฏิบัติในการดำเนินการให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาในบัญชียา จ (2) สรุปและข้อเสนอแนะ: การนำนโยบายเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพงในบัญชียา จ (2) ไปสู่การปฏิบัติยังคงประสบปัญหาอุปสรรคอยู่มาก การประสานงานระหว่างคณะอนุกรรมการฯ กับโครงการประกันสุขภาพ และโรงพยาบาล รวมทั้งการกำกับติดตามประเมินผลนโยบายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การดำเนินนโยบายนี้ประสบความสำเร็จth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectบัญชียาหลักแห่งชาติen_US
dc.titleการเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพงในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2551 : จากนโยบายสู่การปฏิบัติth_TH
dc.title.alternativeIncreasing access to high-cost medicine under the 2008 National List of Essential Medicines (NLEM): from policy to practiceen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeObjectives: to study the process of implementation of the increasing access to high-cost medicine listed in the Category E2 of the 2008 NLEM policy to practice under public health insurance systems: the Universal Health Coverage scheme (UC), Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS), and Social Security Scheme (SSS) and in hospitals as well as to explore factors that promote policy achievement and problems occurred during policy implementation. Methods: A qualitative approach was employed including review and analysis of relevant documents. In-depth interviews and focus group discussions with stakeholders, who involved in the Category E2, were conducted. Results: 1) The policy implementation under public health insurance schemes: The NLEM subcommittee created the Category E2 guidelines including other rules and regulations for the three public health insurance schemes to follow. However, the UC was the only scheme which developed its internal regulations related to the Category E2. Moreover, it was also found that the three public health insurance schemes had implemented some projects to increase access to some medicine listed in the Category E2 before the policy initiation. Also, these projects were, in some respects, managed differently from the rules and regulations of the Category E2 policy. 2) The implementation of the Category E2 policy in hospitals: Most administrators, clinicians and pharmacists who involved in this study agreed with the policy of increasing access to expensive medicines. The implementation of this policy would reduce hospital expenditure on medicines particularly medicines for patients who were covered under the UC and promote a rational use of the medicine under the clear guidelines. However, the rules and regulations regarding the Category E2 that developed by the NLEM subcommittee and the three public health insurance schemes could cause problems in practice because it may introduce confusion and various management systems in hospitals. There were also some problems of compliance with the rules and regulations of the UC and prescription for people under the CSMBS coverage. These problems were obstacles for patients’access to medicines listed in the Category E2. Conclusions and suggestions: Policy implementation of increasing access to the Category E2 to practice faced many barriers. Coordination among the NLEM subcommittee, public health insurance schemes, and hospitals as well as policy monitoring and evaluation were necessary and facilitated the success of policy implementation.en_US
dc.subject.keywordการเช้าถึงยาen_US
dc.subject.keywordโครงการประกันสุขภาพen_US
.custom.citationเสาวลักษณ์ ตุรงคราวี, วรัญญา รัตนวิภาพงษ์, รุ่งนภา คำผาง, พัทธรา ลีฬหวรงค์, ยศ ตีระวัฒนานนท์, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, Saowalak Turongkaravee, Waranya Rattanavipapong, Roongnapa Khampang, Pattara Leelahavarong, Yot Teerawattananon and Sripen Tantivess. "การเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพงในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2551 : จากนโยบายสู่การปฏิบัติ." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3702">http://hdl.handle.net/11228/3702</a>.
.custom.total_download3261
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month26
.custom.downloaded_this_year487
.custom.downloaded_fiscal_year49

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v6n3 ...
Size: 242.5Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record