บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับแรงดันเลือด 4 ประการ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 381 คน มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอท่าช้าง รับบริการการรักษาที่โรงพยาบาลท่าช้างหรือสถานีอนามัยตำบลถอนสมอ สถานีอนามัยตำบลวิหารขาว หรือสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี ตำบลพิกุลทอง การเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ และทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับแรงดันเลือดด้วยสถิติ Binary logistic regression การศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับแรงดันเลือดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เรียงตามปัจจัยเสี่ยงมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีรายได้พอใช้ (OR=2.345) การให้คุณค่าต่อสุขภาพ (OR=0.414) และการได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือจากญาติหรือบุคคลใกล้ชิด (OR=0.316) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการควบคุมระดับแรงดันเลือด ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับโรค การรับรู้ว่าเป็นโรค, การรับรู้ว่าต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง, เจตคติต่อโรคความดันโลหิตสูง, ความสามารถในการเข้าถึงสถานพยาบาล, ความพึงพอใจในสถานพยาบาล, ความพึงพอใจในผลการใช้ยา และการช่วยเหลือจากบุคลากรสาธารณสุข, และความสัมพันธ์ของแพทย์กับผู้ป่วย
บทคัดย่อ
The purpose of this study was to identify factors influencing the control of blood
pressure levels encompassing four aspects, i.e. personal, pre-disposing, enabling and reinforcing factors. A sample of study subjects included 381 hypertensive patients living in
Tha Chang district and seeking health care at Tha Chang Hospital, Thon Samo Subdistrict Health Center, Wihan Khao Subdistrict Health Center, and Phikun Thong Subdistrict
Health Center for Commemoration of Her Majesty the Queen’s 60th Birthday Anniversary. Data were collected by using a questionnaire and analyzed by using percentage
values and the binary logistic regression method for testing the statistical significance of
the factors influencing blood pressure control. The study revealed that the factors influencing blood pressure control among hypertensive patients in Tha Chang district include, in order of high-to-low levels of significance, enough income (OR=2.345), perception of health worthiness (OR=0.478), co-morbidity with hypertension and other diseases (OR=0.414), and supportive care from relatives or someone else with a close relationship (OR=0.316). Other factors that were found
to be unassociated with blood pressure control are sex, age, educational attainment, knowledge about the illness, perception about being ill, perception about continuous care, attitude toward hypertension, accessibility to health-care facility, satisfaction with healthcare facility, satisfaction with the effects of medication, assistance from health personnel,
and doctor-patient relationships.