Lessons Learned from Flooding and Landslides in Lablae District, and Planning Development for Disaster Relief by the Lablae Public Health Team
dc.contributor.author | กิตติพงศ์ อุบลสะอาด | en_US |
dc.contributor.author | Kittipong Aubolsaad | en_US |
dc.contributor.author | ผาสุข แก้วเจริญตา | en_US |
dc.contributor.author | Phasuk Kaewcharoenta | en_US |
dc.coverage.spatial | อุตรดิตถ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-03T07:54:33Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T15:56:40Z | |
dc.date.available | 2008-10-03T07:54:33Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T15:56:40Z | |
dc.date.issued | 2550 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,2 (ก.ค.-ก.ย. 2550) (ฉบับเสริม1) : 146-153 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/376 | en_US |
dc.description.abstract | ในวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2549 ได้เกิดภัยธรรมชาติฝนตกหนักที่อำเภอลับแล อำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดใกล้เคียง เกิดอุทกภัย ดินโคลนถล่ม ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ประชาชนเกือบทั้งอำเภอลับแลได้รับความเดือดร้อนรุนแรง ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเรือนในบริเวณน้ำท่วมและดินถล่มเสียหายเกือบทั้งหมด คณะวิจัยจึงไปทำการวิจัยเชิงคุณภาพแบบศึกษาปรากฏการณ์ (phenomenological approach qualitative research) เพื่อศึกษาการบรรเทาภัยพิบัติสถานการณ์ภัยพิบัติอำเภอลับแล หาแนวทางการพัฒนาแผนบรรเทาภัยพิบัติของทีมสาธารณสุขอำเภอลับแล โดยวิธีถอดบทเรียนในกลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือและผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 69 ราย ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลจำนวน 32 ราย และสนทนากลุ่มจำนวน 47 ราย ทำการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ฉากทัศน์ จัดทำแผนบรรเทาภัยพิบัติทีมสาธารณสุขจากฉากทัศน์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 90 ราย แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ใช้โปรแกรม excel ช่วยในการจัดเรียงข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยภัยพิบัติในวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2549 ที่ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกือบทั้งอำเภอลับแลได้รับความเดือดร้อนรุนแรง บ้านเรือนเรือกสวนที่อยู่ในบริเวณน้ำท่วมรุนแรงและดินถล่มเสียหายเกือบทั้งหมด ระบบไฟฟ้า การสื่อสารและการคมนาคมถูกตัดขาด ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ได้ การช่วยเหลือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ล่าช้าและไม่ทั่วถึง แผนการบรรเทาภัยพิบัติของทุกหน่วยงานไม่มีประสิทธิภาพ ทีมเคลื่อนที่เร็วไม่สามารถออกให้ความช่วยเหลือในขณะเกิดเหตุ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นดำเนินการโดยการจัดหาพื้นที่ปลอดภัย คัดกรองผู้ป่วยและจัดหาเวชภัณฑ์ในพื้นที่ช่วยเหลือ ภายหลังเกิดเหตุมีหน่วยงานและอาสาสมัครมากมายเข้าให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ แต่ขาดการดำเนินงานตามแผนภัยพิบัติที่ถูกต้อง ได้ส่งผลให้เกิดความผิดพลาด ในการจัดเก็บข้อมูลและการให้ความช่วยเหลือในสวัสดิการต่างๆ การจัดทำแผนบรรเทาสาธารณภัยของทีมสาธารณสุขในระยะก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ควรเป็นการดำเนินงานในลักษณะของการประสานงานระหว่างทีมสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับอำเภอ และจังหวัด กำหนดบทบาทผู้รับผิดชอบในการสั่งการขณะเกิดเหตุ และอาสาสมัครด้านต่างๆ พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การรักษาพยาบาล วิทยาการระบาด จิตวิทยา รวมกำหนดระบบการประสานงานและการจัดเก็บข้อมูลในระยะก่อนเกิดเหตุ การเตรียมความพร้อมของทีมงาน การเตรียมทีมเตือนภัยในพื้นที่ ข้อมูลจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่ และการฝึกซ้อมแผนภัยพิบัติแบบบูรณาการร่วมกับเครือข่ายบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ ให้ครอบคลุมในทุกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | บทเรียนการบรรเทาภัยพิบัติ สถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมโคลนถล่มอำเภอลับแล และการพัฒนาแผนบรรเทาภัยพิบัติทีมสาธารณสุขอำเภอลับแล | en_US |
dc.title.alternative | Lessons Learned from Flooding and Landslides in Lablae District, and Planning Development for Disaster Relief by the Lablae Public Health Team | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The study took a phenomenological approach to qualitative research, aimed at studying disaster management following the destructive flooding and landslides in Lablae district of Uttaradit Privince, and the development planning for disaster relief conducted by the Lablae Public Health Team. Specific data were collected from 69 persons who experienced the disaster, members of the rescue team and persons on whom the flooding and landslides in Lablae district had an impact, 32 persons from an in-depth interview and 47 persons from a focus group discussion as well as participants and non-participants, observers during the disaster, development of a disaster scenario for disaster relief by the Lablae Public Health Team based on 90 participants, and analysis by data triangulation, using the Excel software program for category and data content analysis. We was found that the flooding and landslide disaster that occurred during the period May 22-24, 2006 adversely impacted the people of Lablae, Mange, and Thapla districts and the surrounding province. Most people in Lablae suffered severe effects on their lives and property. Many houses in the area of heavy flooding and landslides were destroyed. Electricity, communication and transport systems were cuts making evaluation of the affected area impossible. The rescues were made only during the first stage; they were delayed and not comprehensive. Also, the disaster relief plan of every office involved was ineffective. The emergency team was unable to operate during the crisis. The primary response was only to provide a safe area for the surveyed patients and medical supplies. After the incident, although many organizations and volunteers rushed to the area, they could not implement the relief plan, which resulted in incomplete data collection and the inefficient provision of security welfare. The relief disaster plan of the health team must be operated in coordination with public health and other relevant offices at all times: before, during and after such incidents, both at the district and provincial levels. The defined roles of the command post and volunteers during the incident, together with the development of an emergency medical system, care-giving, epidemic prevention, psychotherapy, the readiness of the rescue team, data on risky areas, rehearsal of integrated relief plans in all areas at risk of natural disasters, and relief networks as well as the coordinating system and data collection must be seriously considered before such incidents occur. | en_US |
dc.subject.keyword | ภัยธรรมชาติ | en_US |
dc.subject.keyword | ภัยพิบัติ | en_US |
dc.subject.keyword | การบรรเทาสาธารณภัย | en_US |
dc.subject.keyword | Disaster | en_US |
dc.subject.keyword | Disaster Relief | en_US |
dc.subject.keyword | Lessons Learned | en_US |
.custom.citation | กิตติพงศ์ อุบลสะอาด, Kittipong Aubolsaad, ผาสุข แก้วเจริญตา and Phasuk Kaewcharoenta. "บทเรียนการบรรเทาภัยพิบัติ สถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมโคลนถล่มอำเภอลับแล และการพัฒนาแผนบรรเทาภัยพิบัติทีมสาธารณสุขอำเภอลับแล." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/376">http://hdl.handle.net/11228/376</a>. | |
.custom.total_download | 1329 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 140 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 28 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ