บทคัดย่อ
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ระบุให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นเอง แต่ที่ผ่านมากลับไม่มีความก้าวหน้าที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือยังขาดการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนองค์ความรู้การกระจายอำนาจด้านสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อวิเคราะห์ส่วนขาดองค์ความรู้เพื่อใช้กำหนดประเด็นที่ต้องการวิจัยและใช้ผลสนับสนุนการพัฒนานโยบายด้านการกระจายอำนาจด้านสุขภาพในประเทศไทย วิธีการศึกษาหลักเป็นการทบทวนเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในช่วงปี 2540-2555 กำหนดกรอบประเด็นที่มีความสำคัญในเชิงนโยบาย แล้วเลือกประเด็นที่ตรงกับสถานการณ์การกระจายอำนาจด้านสุขภาพของประเทศไทย จนเกิดเป็นคำถามและประเด็นวิจัยที่ยังขาดองค์ความรู้
ผลการศึกษา พบว่า มี 3 กรอบประเด็นคำถามการวิจัยที่สำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ คือ 1) การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการกระจายอำนาจ เช่น เขตสุขภาพ 2) การพัฒนาขีดความสามารถของ อปท. ให้มีความเข้มแข็งในการจัดการด้านสุขภาพมากขึ้น เช่น การพัฒนากลไกของท้องถิ่นให้สามารถทำงานด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำคู่มือภารกิจงานด้านสาธารณสุขพื้นฐานสำหรับอปท.แต่ละระดับ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของท้องถิ่น 3) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่ดีภายใต้เงื่อนไขการกระจายอำนาจ เช่น บทบาท อปท. ในการสร้างความเป็นธรรม การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
บทคัดย่อ
The Constitution of the Kingdom of Thailand mandated the decentralization of public services including
health; however, not only has there been no significant progress, existing evidence has not been
systematically synthesized. The purpose of this study is to identify the missing knowledge about health
decentralization in Thailand. Documentary research was employed to create the initial research framework,
which was then compared against the pool of existing evidence. The final framework was criticized
in order to bring forward specific research questions.
Three main research areas for health decentralization in Thailand were identified: (1) Regional Health
model development, (2) Capacity strengthening of local authority, and (3) People participation model in
health decentralization.