บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาลักษณะท่าทางในการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน อาการปวดหลัง และหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลังของครูและบุคลากรทางการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนที่เข้าโครงการผู้นำเครือข่ายด้านสุขภาพ 4 ภูมิภาค จาก 56 จังหวัด จำนวน 713 คน ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2554 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติค
ผลการศึกษา พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาเคยมีอาการปวดหลังร้อยละ 76.08 และระดับความรุนแรงของอาการปวดหลังอันเนื่องมาจากการทำงาน (The Oswestry Disability Questionnaire) อยู่ในระดับอาการปวดหลังที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการดำเนินชีวิตปานกลางมีค่าเฉลี่ย 13.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลัง พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เคยประสบอุบัติเหตุที่ทำให้ปวดหลังจะมีความเสี่ยงต่อการปวดหลัง 6.64 เท่า ของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุที่ทำให้ปวดหลัง การก้มขณะทำงานจะมีความเสี่ยงต่อการปวดหลัง 2.20 เท่าของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ต้องก้มขณะทำงาน การทำงานที่ต้องทำงานแบบต้องนั่งยองๆกับพื้นจะมีความเสี่ยงต่อการปวดหลัง 1.74 เท่าของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่ต้องนั่งยองๆกับพื้นขณะทำงาน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่ออาการปวดหลังและการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาอาการปวดหลังซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพรวมถึงการมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี
บทคัดย่อ
Background: Prevalence of low back pain was always in the top among teachers and academic personnel
in Thailand. It might be beneficial to clarify risk factors for raising self-awareness and even program development for mass. Methods: The aim of this study was to study working posture and environments
related to low back pain, in order to determine risk factors. Subjects (n=713) were recruited from 4
regions, 56 provinces whom attended Health Leadership workshop during November 17, 2010 to March
6, 2011. Descriptive data was described with number, percentage, average and standard deviation, while
inferential statistics was analyzed by logistic regression. Results: 76.08% of participants reported low back
pain. The severity by the Oswestry Disability Questionnaire showed minimal disability average scores at
13.2 (± 9). While analyzing for risk factors, the interesting results demonstrated as followed: history of
accidents related to low back pain caused 6.64 times over no accidents; working with bending position
had 2.20 times higher risk and working with squatting down had 1.74 times risk compared to no squatting
ob.
Conclusion: Working positions is one of factors related to low back pain among teachers and academic
personnel; therefore, adjusting personal behaviors, appropriate working environments should reduce
symptoms. These would lead to improved efficiency and better quality of work life.