• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการคงอยู่ของภาวะเครียดหลังอุทกภัยในจังหวัดอ่างทอง

สุรพันธ์ วิชิตนาค; Surapun Wichitnak; สมถวิล สินธุประสิทธิ์; Somtawin Sintuprasit; ปาจรีย์ สาระลุก; Pajaree Saralook; จุฑามาศ ผดุงญาติ; Jutamad Padungyat;
วันที่: 2550
บทคัดย่อ
เหตุการณ์อุทกภัยทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากความเสียหายของทรัพย์สินจำนวนมาก แม้ได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความช่วยเหลือ แต่ความรู้สึกสูญเสียของประชาชน ซึ่งยังเผชิญกับภาวะน้ำท่วมขังได้ก่อให้เกิดปัญหาความเครียดในประชากรบางกลุ่ม จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะผู้วิจัยมีความประสงค์ศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการคงอยู่ของภาวะเครียดหลังประสบอุทกภัย และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดที่ยังคงอยู่กับปัจจัยด้านสังคม ประชากร ภาวะสุขภาพ และปัจจัยด้านจิตสังคม วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรตัวอย่างที่เป็นผู้ประสบอุทกภัยในเขตอำเภอป่าโมก ที่เคยผ่านการคัดกรองว่ามีภาวะเครียดช่วงน้ำท่วมเมื่อ พ.ศ. 2549 จำนวน 61 ราย โดยใช้แบบสอบถาม GHQ-12 plus-R. สถิติที่ใช้คือความถี่ ร้อยละ odds ratio (OR) และ การทดสอบไฆ-สแควร์ การศึกษาพบปัจจัยเสี่ยงที่มีผลและมีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของภาวะเครียดคือ อายุ >60 ปี และรายได้น้อยไม่พอใช้ ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิตสามารถนำไปใช้ค้นหาผู้ประสบอุทกภัยที่มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป

บทคัดย่อ
Following a flood disaster in 2006, the victims suffered both physical and mental affliction because of the loss of their property and loved ones. Post-disaster stress persisted in some persons. We, therefore, conducted this study to determine what risk factors are related to the maintenance of postflood disaster stress on people in Pamoke district. We also studied the relationship between remainder stress and socio-demographic factors, health status and psychosocial factors. The subjects comprised 61 people who suffered stress from a flood in 2006 in Pamok district. General Health Questionnaire 12 Plus R (GHQ-12 Plus-R) was used for this study. The frequency, percentage, odds ratio (OR) and Chi-square test were used to analyze the data. The results showed that the risk factors for post-flood disaster stress were age over 60 years and lacking income.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v1n2 ...
ขนาด: 158.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 6
ปีงบประมาณนี้: 92
ปีพุทธศักราชนี้: 62
รวมทั้งหมด: 1,070
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV