บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาเชิงสำรวจระบบเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน ทำในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2542 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้จัดการนิคมอุตสาหกรรม ผู้บริหารโรงงาน จำนวน 19 คน คนในโรงงาน จำนวน 503 คน จากโรงงานที่สมัครใจ 19 แห่ง เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 4 โรง ขนาดกลาง 8 โรง และขนาดเล็ก 7 โรง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โปรแกรม SPSS for Window การศึกษาพบว่า โรงงานทุกขนาดมีความเสี่ยงในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมคล้ายคลึงกัน มีการเฝ้าระวังด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแต่ไม่สอดคล้องกับความเสี่ยงและไม่ครบถ้วน ระบบข้อมูลขาดประสิทธิภาพในการจัดเก็บและการวิเคราะห์ ขาดการนำข้อมูลไปใช้วางแผนป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงาน การเชื่อมประสานข้อมูลด้านการเฝ้าระวังในส่วนขององค์กรที่เกี่ยวข้องไม่เหมาะสม ขาดประสิทธิภาพ กลุ่มผู้บริหารทุกระดับมีความพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาระบบเฝ้าระวังด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะของคณะผู้ศึกษา ว่าควรออกแบบระบบเฝ้าระวังด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในโรงงานให้สอดคล้องกับความเสี่ยงในการทำงาน โดยการมีส่วนร่วมของโรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะต้องมีการพัฒนาระบบการประสานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพด้วย
บทคัดย่อ
This cross-sectional descriptive study was aimed at studying the situation of occupational health and environmental surveillance in the Northern Region Industrial Estate, Lamphun Province. There were seven small, eight medium-sized and four large factories, that were chosen by purposive sampling. A total of 503 workers were chosen as
subjects by simple random sampling of workers in the 19 factories plus 19 administrative
staff. The instruments used in this study were an interview form and questionnaire.
Content validity was reviewed by five experts. Data were analyzed by using descriptive
statistics (the SPSS software program for Windows) The duration of the study was from
January to September 1999.
The findings from this study showed that all sizes of factory posed similar health
and environmental risks. The data collection and analysis were not efficient. In addition,
the Action Plan of Occupational Diseases was not applicable, and the data coordination
system was not appropriate for the participating organizations, although all administrative staff were ready to develop a more effective workers’ health and environmental surveillance system.
The following are recommendations from this study: Factories should design occupational health and environmental surveillance in line with the occupational risks and in
accordance with the factories and the participating organizations. They should also implement continuous tracking and evaluation as well as develop an effective data-coordinating system.