บทคัดย่อ
การใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีราคาแพงเป็นสาเหตุของการเติบโตอย่างรวดเร็วของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยเฉพาะระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ การศึกษานี้ทบทวนกลไกระดับชาติในการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในภาครัฐที่เคยมีการดำเนินการและที่กำลังดำเนินการในปัจจุบัน โดยเน้นการวิเคราะห์ในประเด็นการใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติและระบบประกันสุขภาพ ภายใต้ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ได้แก่ (1) การมีองค์กรที่กำหนดนโยบายด้านยาระดับชาติ (2) การใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ (3) การมีระบบติดตามและตรวจสอบการใช้ยา (4) การสร้างแรงจูงใจด้วยวิธีการจ่ายเงิน (5) การประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อประกันการมีงบประมาณอย่างยั่งยืนและมียาใช้อย่างเท่าเทียม (6) การบังคับใช้เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขาย (7) การใช้แนวเวชปฏิบัติที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และ (8) บทบาทของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดที่เข้มแข็ง โดยสรุปบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่มีประโยชน์ทั้งการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและเพิ่มความยั่งยืนของระบบสุขภาพ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติมีผลงานที่ชัดเจนในการคัดเลือกยาที่เหมาะสมสำหรับสถานพยาบาล กลไกระดับชาติควรเกื้อหนุนนโยบายที่ลดแรงจูงใจในการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยเฉพาะการใช้วิธีการจ่ายเงินที่เหมาะสมภายใต้ระบบประกันสุขภาพ คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการควรเร่งศึกษาการใช้ระบบจ่ายเงินแบบล่วงหน้าที่เหมาะสม โดยในระยะเปลี่ยนผ่าน ควรให้ความสำคัญกับการติดตามและตรวจสอบแบบแผนการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลแต่ละแห่งอย่างจริงจัง ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ ควรเป็นผู้นำในการประสานงานกับโรงพยาบาลเพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและกองทุนประกันสังคม และเร่งดำเนินการในส่วนที่ขาดโดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
บทคัดย่อ
Use of expensive non-essential drugs is a major driver of rapid growth of health care expenditure,
especially for Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS). This study reviews past and ongoing national
policy interventions aiming to promote rational use of drugs (RUD) in public sectors, with respect
to National Lists of Essential Medicines (NLEM) and public insurance schemes. The study employs the
World Health Organization framework on recommended interventions, including (1) national drug policy
body, (2) NLEM, (3) monitoring and auditing system, (4) financial and payment incentives, (5) sufficient
government expenditure to ensure availability of medicines, (6) ethical criteria for drug sales promotion,
(7) clinical practice guidelines based on evidence-based medicines, and (8) the hospital pharmacy and
therapeutic committee. In summary, the NLEM is a basic measure for promoting RUD and assuring sustainable
insurance systems. The Sub-committee on essential drug list development under the national
committee on drug system development has played a unique role in selection of drugs suitable for use in
hospitals. The national agenda should advocate disincentive in the use of drugs outside the NLEM, using
appropriate provider payment mechanism. The CSMBS board should encourage a rapid introduction of
the prospective payment system. During a transition phase, hospitals should be closely monitored and
audited for prescribing patterns. The newly appointed Drug and Medical Management and Reimbursement
Committee should take a leading role in engaging co-operation from the hospitals and in harmonizing
across the three public insurance schemes. Development of the education system in all levels to ensure
rational drug use is urgently required as it has not been committed before.