• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การทบทวนสถานการณ์ระบบการสร้าง พัฒนาและจัดการบุคลากรด้านสาธารณสุขตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2552 และแนวโน้มในอนาคต

ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย; วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย;
วันที่: 2556-05-31
บทคัดย่อ
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเป็นเจตจำนงและพันธะร่วมกันของสังคม เพื่อให้ทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการจัดทำแผนโดยพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔๖ กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ต้องจัดทำธรรมนูญฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องดำเนินการต่อตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน กำลังคนด้านสุขภาพในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ มีความหมายครอบคลุมถึงบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีบทบาทในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งรวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุข ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการสาธารณสุข บุคลากรสายสนับสนุน บุคลากรทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก อาสาสมัครด้านสุขภาพต่าง ๆ แกนนำและเครือข่ายสุขภาพ ตลอดจนบุคลากรต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตามมาตรา ๔๖ วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ .ศ.๒๕๕๐ กำหนดให้ คสช . ทบทวนธรรมนูญฯอย่างน้อยทุก ๕ ปี เพื่อให้มีความเป็นพลวัต สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาระบบสุขภาพได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ร่วมกับสถาบันวิจับระบบสาธารณสุข (สวรส.) จึงจัดให้มีโครงการศึกษาและทบทวนความรู้จากกระบวนการขับเคลื่อนใช้ประโยชน์ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ ขึ้นเพื่อประกอบการปรับปรุงธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวซึ่งในการศึกษานี้ได้ทบทวนความรู้ในหมวด 11 การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข วัตถุประสงค์ 1. เพื่อทบทวนและวิเคราะห์สถานการณ์ของระบบการสร้างพัฒนาและจัดการบุคลากรด้านสุขภาพในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา 2. เพื่อประเมินสถานการณ์ โอกาส ภัยคุกคาม ความท้าทายในระบบการสร้างพัฒนาและจัดการบุคลากรด้านสุขภาพ โดยอ้างอิงจากสาระในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 3. เพื่อสังเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของระบบการสร้างพัฒนาและจัดการบุคลากรด้านสุขภาพให้ข้อเสนอแนะทิศทางที่ควรจะเป็นในการกำหนดภาพอนาคตหรือภาพพึงประสงค์ในอีก 10 ปีข้างหน้า วิธีการศึกษา 1. ทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสถานการณ์การสร้าง/การผลิตพัฒนาและจัดการบุคลากรด้านสุขภาพในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และทบทวนการศึกษาแนวโน้มในอนาคต รวมทั้งบทบาทหน้าที่ขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสัมพันธ์เชื่อมโยง 2. การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นด้านสถานการณ์ โอกาส ภัยคุกคาม ความท้าทายในด้านใดด้านหนึ่งในต่อไปนี้ • การศึกษาและการพัฒนาบุคลากรสุขภาพ • การจัดการบุคลากรสุขภาพ • ระบบการเงินการคลังสุขภาพ • การจัดระบบบริการสุขภาพ 3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสถานการณ์ โอกาส ภัยคุกคาม ความท้าทาย ของการสร้างพัฒนาและจัดการบุคลากรด้านสุขภาพกับสาระที่เกี่ยวข้องตามธรรมนูญฯ พ.ศ. 2552
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2056.pdf
ขนาด: 1.039Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 185
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV