บทคัดย่อ
การให้คำปรึกษาเรื่องเอดส์แก่คู่สามีภรรยา เพื่อให้ตรวจเลือดโดยสมัครใจเป็นบริการที่สำคัญมากในพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคเอชไอวี การศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาเรื่องเอดส์สู่สถานีอนามัยเพื่อครอบคลุมการให้คำปรึกษาแก่กู่สามีภรรยาให้ได้มากกว่าร้อยละ 80 โดยทำการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์และสามีที่มารับบริการ 703 คู่ ในช่วง พ.ศ. 2547-2549 คลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลจุนและสถานีอนามัยในเขตอำเภอจุน จังหวัดพะเยา ผลการศึกษาแสดงว่าได้สามารถพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาเรื่องเอดส์แก่คู่สามีภรรยาได้ในสถานีอนามัยทุกแห่ง โดยใน พ.ศ. 2547-2549 การให้คำปรึกษาเรื่องเอดส์แก่คู่สามีภรรยาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74, 94 และ 89 ตามลำดับ อัตราการติดเชื้อเอซไอวีในหญิงตั้งครรภ์ลดลงเป็นร้อยละ 1.8, 1.5 และ 1.3 นอกจากนี้ยังตรวจพบคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดแตกต่างกันจำนวน 11 คู่ โดยมีการติดเชื้อระหว่างกัน 1 คู่ ในระยะเวลา 1 ปีหลังนี้ไม่พบมีเด็กติดเชื้อเอชไอวีหลังคลอด การให้คำปรึกษาเรื่องเอดส์แก่คู่สามีภรรยาเป็นประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคเอชไอวี เพราะได้ให้คำปรึกษาเชิงป้องกันแก่คู่สามีภรรยาจำนวนมากที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ และสามารถค้นพบผู้ติดเชื้อเพื่อนำเข้าสู่ระบบการดูแลและป้องกันได้ทันที การให้บริการที่คลินิกฝากครรภ์จึงเป็นจุดที่เหมาะสำหรับบริการดังกล่าว ทั้งนี้การเน้นบริการสู่ชุมชนโดยเฉพาะระดับสถานีอนามัยเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากประชาชนมีความสะดวกในการมารับบริการ ทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้การติดตามร่วมกับชุมชนและการประชาสัมพันธ์เชิงรุก จะทำให้โครงการประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ
HIV-counseling for couples considering voluntary counseling and testing (VCT) is
very important in HIV prevalent areas. This research was carried out in this belief with
the objective of incorporating the counseling system into health centers and increasing the coverage of HIV counseling to more than 80 percent of couples. The work conducted
in the period 2004 -2006 covered 703 pregnant women and their partners who visited the
Antenatal Care Unit at Chun Hospital and health centers in Chun district, Phayao Province.
The results show the success of developing the counseling system so that it can be
incorperated into all health centers during the three successive years (2004-2006). The
coverage of couple HIV-counseling increased to 74, 94 and 89 percent, respectively. The
HIV infection rate in the pregnant women decreased to 1.8, 1.5 and 1.3, respectively. Moreover,
among 11 discordant infected couples with different blood mates, one couple was
evidently infected by each other. No infected born baby was born to these couples during
the period of study.
HIV couple counseling was very useful in protecting against the HIV epidemic; it
encourageed HIV-positive persons to join the system. The service at the Antenatal Care
Unit was suitable for inducing couples to be interested in HIV screening. Distributing the
service among the communities served by health centers was very important since it
made people feel very comfortable to take the service. Moreover, strengthening followup
programs and launching proactive public relations campaigns would produce more
success.