บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกที่บริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ สื่อนิตยสาร และสื่ออินเตอร์เน็ต โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เผยแพร่ในประเทศไทยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2549 – 31 ธันวาคม 2551 พบการนำเสนอทั้งสิ้น 47 รายการ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต 23 รายการ (ร้อยละ 48.94) สื่อนิตยสาร 22 รายการ (ร้อยละ 46.80) และสื่อโทรทัศน์ 2 รายการ (ร้อยละ 4.26) ซึ่งแหล่งที่มาของข้อมูลมาจากหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด 17 รายการ (ร้อยละ 36.67) มีการนำเสนอในรูปแบบบทความเชิงวิชาการมากที่สุด 17 รายการ (ร้อยละ 36.67) พบการนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่สร้างความหวาดกลัวต่อโรคมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด 28 รายการ (ร้อยละ 59.57) และพบมีข้อมูลไม่ถูกต้อง 5 รายการ (ร้อยละ 10.64) ส่วนความเชื่อมโยงกับบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายวัคซีนนั้น พบการใช้สัญลักษณ์ของบริษัท การใช้สีที่สอดคล้องกับบรรจุภัณฑ์ การใช้ตัวเลขเพื่อสื่อถึงชนิดของเชื้อเอชพีวีที่วัคซีนป้องกันได้ และการระบุช่องทางให้ผู้บริโภคหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านหมายเลขโทรศัพท์และเว็บไซต์และการสนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก จากข้อค้นพบที่มีการนำเสนอข้อมูลไม่ถูกต้องและมีการเชื่อมโยงกับบริษัทยาที่มีผลประโยชน์ จึงมีข้อเสนอว่า ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลในภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณายาให้เข้มงวดมากขึ้น
บทคัดย่อ
The objective of this study was to examine the pattern of drug companies in promoting disease
awareness activities in relation to HPV vaccines through various media channels in Thailand including
television, magazines and the internet. Using content analysis of media content from 1st January 2006 to
31th December 2008, 47 disease awareness activities were found, of which 23 (48.94%) were on the internet,
22 (46.80%) in magazines, and two (4.26%) in television programs. The primary source of information was
from government agencies (36.67%) and the most common presentation pattern was in the form of academic
paper (36.17%). A fear appeal was the most typical communication method (59.57%). Five activities
contained incorrect data about the vaccine (10.64%). On websites, the connection of the disease awareness
activities and the sponsoring drug companies could be identified by the brand logo, the theme color, and
the product packaging linking to specific HPV strands covered by the vaccine. Hotline numbers, sponsored
by the pharmaceutical companies, were also available on the websites and magazines for consumers.
We thus propose that responsible authorities, including the Thai Food and Drug Administration,
regulate the drug advertisement policy more proactively