• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การเปรียบเทียบผลของการจ่ายและการไม่จ่ายยาปฏิชีวนะของร้านยาในโรคที่พบบ่อยต่อสุขภาพและความพึงพอใจของผู้ป่วย

วิรัตน์ ทองรอด; Wirat Tongrod; กฤติน บัณฑิตานุกูล; Krittin Bunditanukul; กิติยศ ยศสมบัติ; Kitiyot Yotsombut; วราวุธ เสริมสินสิริ; Varavoot Sermsinsiri; ณีรนุช ทรัพย์ทวี; Niranut Subthawee; สมบัติ แก้วจินดา; Sombat Kaeochinda; นิธิมา สุ่มประดิษฐ์; Nithima Sumpradit;
วันที่: 2556-06
บทคัดย่อ
ร้านยาเป็นแหล่งให้บริการด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิที่สำคัญ แต่ร้านยาหลายแห่งยังจ่ายยาปฏิชีวนะในโรคที่พบบ่อยซึ่งส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก สาเหตุสำคัญ คือ ความไม่มั่นใจด้านผลการรักษาโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะต่อสุขภาพและความพึงพอใจของผู้ป่วย การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการจากร้านยาด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก ระหว่างกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะและกลุ่มที่ไม่ได้ยาปฏิชีวนะ การเก็บข้อมูลดำเนินการในเดือนตุลาคม 2555 ร้านยาอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมการใช้ยาปฏิชีวนะสมเหตุผลมีจำนวน 97 แห่ง ร้านยาที่ส่งข้อมูลสมบูรณ์กลับมีจำนวน 54 แห่ง (ร้อยละ 55.7) ผู้ป่วยที่ถูกสัมภาษณ์หลังให้บริการ 3-7 วันมีจำนวน 1,021 ราย ผู้ป่วยให้ข้อมูลครบถ้วนจำนวน 998 ราย (ร้อยละ 97.7) ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน แผลเลือดออก และโรคท้องร่วงเฉียบพลัน ร้อยละ 71.5, 21.2 และ 7.2 ตามลำดับ คิดเป็นกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะร้อยละ 26.8 และกลุ่มที่ไม่ได้ยาปฏิชีวนะร้อยละ 73.2 ผลการสัมภาษณ์ พบว่า ร้อยละ 91.5 ของผู้ป่วยทั้งหมดแจ้งว่าหายดีเป็นปกติหรือมีอาการดีขึ้น ร้อยละ 83.9 พึงพอใจต่อการรักษาในระดับมากถึงมากที่สุด การเปรียบเทียบผลการรักษาและความพึงพอใจระหว่างกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะและกลุ่มที่ไม่ได้ยาปฏิชีวนะไม่พบความแตกต่าง (p-value > 0.05) ผลการรักษาและความพึงพอใจระหว่าง 3 กลุ่มโรคเป้าหมาย ไม่พบความแตกต่าง (p-value > 0.05) ผลการศึกษาสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมาว่าโรคเป้าหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่หายเองโดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

บทคัดย่อ
Overuse of antibiotics for common, self-limited diseases such as upper respiratory infection (URI), acute diarrhea and simple wound is rampant in Thai community pharmacies. A major reason is a lack of confidence in the effects of non-antibiotic therapy on patient health and satisfaction. The study aims to compare health outcomes and patients satisfaction between the antibiotic-dispensed group and the non antibiotic-dispensed group of patients afflicted with three targeted diseases: URI, acute diarrhea and simple wound. Data collection was conducted in October 2012. Pharmacists from 97 community pharmacies who attended the Antibiotics Smart Use training session were asked to make a follow-up telephone interview with their patients 3-7 days after the pharmacy visit. Pharmacists from 54 pharmacies (55.7%) completed the interviews of 1,021 patients. Responses from 998 patients (97.7%) were usable for data analysis. The responses were from the patients with URI 71.5%, simple wound 21.2% and acute diarrhea 7.2%. The proportion between the antibiotic-dispensed group and the non antibiotic-dispensed group were 26.8% and 73.2%, respectively. Interview results showed that 91.2% of patients were fully recovered or better and 83.9% were satisfied and very satisfied with the treatment. There were no statistical differences on patients’ health outcome and satisfaction between the antibiotic-dispensed group and the non antibiotic-dispensed group (p-value > 0.05) and no statistical difference across the three targeted diseases (p-value > 0.05). The study confirms previous studies that URI, diarrhea and simple wound can be cured without antibiotics.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v7n2 ...
ขนาด: 156.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 67
ปีพุทธศักราชนี้: 34
รวมทั้งหมด: 1,723
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV