• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

มาตรการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล และการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ในประเทศไทย

ศิริตรี สุทธจิตต์; Siritree Suttajit; นิธิมา สุ่มประดิษฐ์; Nithima Sumpradit; เสาวลักษณ์ ฮุนนางกูร; Saowalak Hunnangkul; ภูษิต ประคองสาย; Phusit Prakongsai; วิษณุ ธรรมลิขิตกุล; Visanu Thamlikitkul;
วันที่: 2556-06
บทคัดย่อ
สถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยามีแนวโน้มสูงขึ้นในโรงพยาบาล การมีมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อ (Hospital Infection Control; IC) และการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (Antimicrobial Stewardship Programs; ASP) จึงมีความสำคัญ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการที่มีในโรงพยาบาลของไทยยังมีจำกัด การสำรวจภาคตัดขวางนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบมาตรการ IC, ASP และอุปสรรคในการดำเนินงานดังกล่าวของโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ระดับตติยภูมิ โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลเอกชน โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามใน 9 จังหวัดที่เป็นตัวแทน 5 ภูมิภาคของประเทศไทยรวม 102 แห่ง (โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป13, รพช.69, โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ 6, โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก 14) ระหว่างเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2555 โรงพยาบาลทุกกลุ่มมีมาตรการ IC (ร้อยละ 96) มากกว่า ASP (ร้อยละ 88) โดยมีจุดเน้นแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มโรงพยาบาล การขาดความร่วมมือของบุคลากรเป็นปัญหาสำคัญอันดับแรกของโรงพยาบาลทุกกลุ่ม (ร้อยละ 38-70) เกือบทุกโรงพยาบาลมีคณะกรรมการ IC การกำหนดให้ IC เป็นเกณฑ์คุณภาพการรับรองสถานพยาบาลจัดเป็นมาตรการภายนอกที่กระตุ้นการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลทุกระดับได้มากกว่าร้อยละ 80 ทั้งนี้โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่มีจุดแข็งด้านห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาและการใช้ผลตรวจความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะในการคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล มีมาตรการเฝ้าระวังการใช้ยาปฏิชีวนะและส่งเสริมการใช้อย่างสมเหตุผลมากกว่าโรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ91-99 และ65-70 ตามลำดับ) มีกรรมการ IC เป็นกลไกการดำเนินงาน และมักเลือกใช้มาตรการเชิง restrictive แต่มีข้อจำกัดด้านกำลังคนและการไม่ยอมรับคู่มือการรักษาจากแพทย์ผู้ให้บริการ ในขณะที่ รพช. มีจุดเด่นด้านการใช้มาตรการเชิง persuasive ที่มีพื้นฐานจากโครงการ Antibiotics Smart Use และมีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดเป็นแกนหลัก แต่มีงบประมาณจำกัดบุคลากรหมุนเวียนบ่อยและกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง โรงพยาบาลเอกชนมีความพร้อมด้านห้องปฏิบัติการและมักใช้มาตรการเชิง persuasive ด้วยการให้ข้อมูลและคู่มือปฏิบัติงาน โดยสรุป โรงพยาบาลใหญ่ รพช. และโรงพยาบาลเอกชนมีความพร้อมและอุปสรรคด้าน IC และ ASP แตกต่างกัน การกำหนดมาตรการจึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมกำหนดมาตรการที่หลากหลายและเหมาะกับบริบท โดยอาจเริ่มจากการสร้างความตระหนักของบุคลากร สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นจุดแข็ง กระตุ้นโรงพยาบาลเอกชน และหาแนวทางดำเนินงานที่เอื้อต่อการทำงานของผู้ปฏิบัติงานเพื่อผลลัพธ์ที่ดีและยั่งยืน

บทคัดย่อ
An increase in antimicrobial drug resistance is a big concern for all hospitals. Thus, effective infection control (IC) policy and antibiotic stewardship programs (ASP) are crucial to managing the problem. However, data on such measures in Thai hospitals are limited. This cross-sectional study aims to explore hospital IC measures, ASP, and barriers to implementation in public tertiary care hospitals (TH), district hospitals (DH), and private hospitals (PH) in Thailand. The study was conducted during April and May 2012 in nine provinces, purposely selected to represent 5 regions. Among 102 hospitals included (13 TH, 69DH, 6 large PH, 14 small PH), the IC measures were implemented more than the ASP (96% vs. 88%) with different focus in each hospital group. Non-cooperation from relevant health providers was the most common barriers to IC and ASP implementation in all groups (38-70%). Inclusion of IC as the criteria for hospital accreditation had the strongest effect that could introduce IC activities into more than 80% of hospitals. Strengths of the TH were microbiology laboratories and antibiotic susceptibility test. Concerning ASPs, the TH was a good performer in using antibiograms for the selection of antimicrobials in hospital formulary. They had IC committee as the core group and tended to implement antibiotic restrictive strategies. TH’s limitations were staff shortage and disagreement from medical staff towards some antibiotic guidelines. As for DH, strengths were persuasive measures developed from the Antibiotics Smart Use program. Plus, DH had Pharmacy & Therapeutics Committee as the core driver. Limitations were lack of budget, frequent staff rotation and discontinuation of the activities. For PH, strengths were microbiology laboratories and persuasive measures. In conclusions, hospitals had different strengths and limitations, thus careful selection of appropriate IC measures and ASP is needed with participation of stakeholders to tailor the measures to hospital context. Policymakers might start with activity that raise concern in relevant health providers, support their strengths, alert private hospitals, and help reducing obstacles that limit further development and sustainability of the IC and ASP.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v7n2 ...
ขนาด: 217.2Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 11
ปีงบประมาณนี้: 146
ปีพุทธศักราชนี้: 72
รวมทั้งหมด: 2,392
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV