Show simple item record

A Pattern for Competency Promotion of Self-care Management in Diabetics with Hypertension

dc.contributor.authorบุญชัย ตั้งสง่าศักดิ์ศรีen_US
dc.contributor.authorBoonchai Tangsangasaksrien_US
dc.coverage.spatialสมุทรสาครen_US
dc.date.accessioned2008-10-03T08:04:01Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:55:42Z
dc.date.available2008-10-03T08:04:01Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:55:42Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,3-4 (ต.ค.-ธ.ค. 2550), 2 (ฉบับเสริม 2) : 311-317en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/390en_US
dc.description.abstractโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่เสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลกระทุ่มแบนส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด และระดับแรงดันเลือดก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดบริการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในช่วงปลายเดือนที่ 3, เดือนที่ 6 และเดือนที่ 9 ในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 288 คน เครื่องมือศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิทัลชนิดมีที่วัดส่วนสูง เครื่องวัดแรงดันเลือดชนิดตั้งพื้น คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง คู่มือสุขศึกษาเรื่องการออกกำลังกาย คู่มือสุขศึกษาเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง รูปแบบการจัดบริการประกอบด้วยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การวัดแรงดันเลือด การประเมินปัญหาสุขภาพ และวางแผนแก้ปัญหารายบุคคลร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและทีมสุขภาพ การให้คำแนะนำเรื่องอาหาร การจัดกิจกรรมการออกกำลังกายกลุ่มครั้งละ 30 นาที ผลการเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด และระดับแรงดันเลือดก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดบริการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเดือนที่ 3 เดือนที่ 6 และเดือนที่ 9 โดยใช้สถิติ repeated measures analysis variance พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดบริการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยในเดือนที่ 3 เดือนที่ 6 และเดือนที่ 9 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (เอฟ = 7.18 ค่าพี = 0.00) และเอฟ = 6.95 ค่าพี = 0.00) ตามลำดับ และระดับแรงดันเลือดไดแอสโทลิคก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดบริการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (เอฟ = 2.58 ค่าพี = 0.189) สรุปว่าผลการจัดบริการที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและแรงดันเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่มีแรงดันเลือดสูงth_TH
dc.format.extent161626 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleรูปแบบการจัดบริการส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงen_US
dc.title.alternativeA Pattern for Competency Promotion of Self-care Management in Diabetics with Hypertensionen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeDiabetes and hypertension increase the chance of a person developing heart disease or stroke, which is called metabolic syndrome. We found that many diabetes patients attending the out-patient department in Krathumban Hospital could not control their blood sugar levels. This quasi-experimental design was aimed at comparing fasting blood sugar levels and blood pressure levels between pre and post utilization of service for competency promotion of self-care intervention at 3-month, 6-month and 9-month intervals. The 288 samples were selected by purposive sampling. The research instruments comprised research questionnaire, digital weight and hight scale, sphygmomanometer, and the service pattern for competency promotion for self-care intervention. The problems of the patients and the health-care team were assessed iointly. They were advised about diet control and exercise practiced for 30 minutes. The service pattern for competency promotion to self-care intervention was utilized every 3 months. All samples underwent blood tests and blood pressure testing pre and post utilization of service for competency promotion of self-care intervention at 3-month, 6-month and 9-month intervals. The results showed that there were significant differences among the fasting blood sugar levels and systolic blood pressure levels pre and post service (F = 7.18, P = 0.00) and (F= 6.95, P = 0.00) by using repeated measure analysis of variance. Service pattern for competency promotion for self-care intervention should be included in the care of diabetes and hypertension disease in hospitals.en_US
dc.subject.keywordรูปแบบการจัดบริการen_US
dc.subject.keywordการส่งเสริมศักยภาพen_US
dc.subject.keywordการดูแลตนเองen_US
dc.subject.keywordโรคเบาหวานen_US
dc.subject.keywordโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.subject.keywordService patternen_US
dc.subject.keywordCompetency Promotionen_US
dc.subject.keywordSelf-careen_US
dc.subject.keywordDiabetesen_US
dc.subject.keywordHypertensionen_US
.custom.citationบุญชัย ตั้งสง่าศักดิ์ศรี and Boonchai Tangsangasaksri. "รูปแบบการจัดบริการส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/390">http://hdl.handle.net/11228/390</a>.
.custom.total_download766
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year97
.custom.downloaded_fiscal_year17

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v1n3 ...
Size: 162.3Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record