บทคัดย่อ
โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากและค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง บทบาทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) คือ ค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของการจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2555 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการ (ผอ.) รพ.สต.ในจังหวัดสงขลา 135 คน แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผอ.และรพ.สต. ตอนที่ 2 การจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความคงที่แล้ว การศึกษาพบ ผอ.เป็นเพศหญิง 92 คน (ร้อยละ 68.1) ค่ามัธยฐานของอายุ คือ 45±11ปี ผอ. 18 คน (ร้อยละ 13.3) ได้รับการอบรมเรื่องการจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 1±2 รายต่อรพ.สต. รพ.สต 64 แห่ง (ร้อยละ 47.4) ไม่มีผู้ป่วยโรคไตในความดูแล ร้อยละ 57.8 ของรพ.สต.จัดบริการแก่ผู้ป่วยโรคไต และกว่าร้อยละ 80 ของรพ.สต.มีกิจกรรมเพื่อการวินิจฉัยและการติดตามผู้ป่วยในระดับต่ำ การจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของ รพ.สต.ด้านค้นหา คัดกรอง และติดตามผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังอยู่ในระดับต่ำ
บทคัดย่อ
Chronic kidney disease (CKD) is an important public health problem due to high volume of patients
and high cost of treatment. Sub-district health promotion hospitals are involved in screening the high risk
group. The aim of this study was to investigate the services provided to CKD patients by the sub-district
health promotion hospitals to understand the problems and limitation in providing health services.
This survey was conducted from March-April 2012. 135 directors of the hospital in Songkhla were
recruited. The questionnaire consisted of 2 parts: 1) general information of the participating directors and
hospitals, 2) services provided by hospitals. 92 (68.1%) of the directors were female. The median age was
45±11. 13/3% of the directors had never participated in the CKD-care workshop. The number of CKDpatients
was 1±2 per hospital. No CKD patients were found in 47.4% of the hospital. CKD services were
not provided in 57.8% of the hospitals. Searching and screening were not conducted in more than 80% of
the hospitals.