• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สร้างกระแสอย่างต่อเนื่อง : บทสรุปของการสร้างสุขภาพโรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

วรชัย อาชวานันทกุล; Vorachai Archavanuntagul; ปิยนุช ปิยอรรถกิจ; Piyanuch Piyauthakit;
วันที่: 2550
บทคัดย่อ
การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรณรงค์ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง โดยใช้กระบวนการ "สร้างกระแส" อย่างต่อเนื่องและจริงจังในกลุ่มบุคลากรของโรงพยาบาลวาริชภูมิ โดยหวังผลกระตุ้นบุคลากรให้มาออกกำลังกายโดยการวิ่งมากขึ้น อันจะมีผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้น และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนซึ่งจะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยลงได้ในที่สุด ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทุกคนของโรงพยาบาลวาริชภูมิ ครอบคลุมทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ดำเนินการสร้างกระแสการออกกำลังกายด้วยการวิ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้เน้นการรณรงค์เรื่องพฤติกรรมบริโภค วิเคราะห์ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมวิ่ง และผลการวิ่งทดสอบสมรรถภาพ 2.4 กิโลเมตร ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับน้ำตาล โคเลสเทอรอล และไตรกลีย์เซอไรด์ในเลือดก่อนและหลังการรณรงค์ รวมทั้งค่าดัชนีมวลกายด้วยการทดสอบทีจับคู่ บุคลากรของโรงพยาบาลใน พ.ศ. 2549 มีทั้งสิ้น 122 คน ร้อยละ 67 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 35 ปี บุคลากรร้อยละ 76 ร่วมออกกำลังกายด้วยการวิ่ง และร้อยละ 58 มีผลการวิ่งทดสอบสมรรถภาพ 2.4 ก.ม. ได้ในระดับดีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยของโคเลสเทอรอลและไตรกลีย์เซอไรด์ในเลือดหลังการรณรงค์ลดลงและน้อยกว่าก่อนการรณรงค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < 0.05); ค่าดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนและหลังการรณรงค์ไม่แตกต่างกันโดยนัยสถิติ

บทคัดย่อ
This was a one-group quasi-experimental study carried out at Waritchaphum Hospital in 2006, with the objective of determining the health benefits of a running campaign. The study population comprised personnel who were working at Waritchaphum Hospital in 2006. Descriptive statistics were used to summarize demographic characteristics and the level of cooperation. The difference in the results before and after the campaign on body mass index, blood levels of sugar, cholesterol, and triglyceride was analyzed by paired t-test. Of the 122 persons analyzed, 67 percent were women and the average age of the sample was 35 years; of the total, only 76 percent participated in the campaign. Over 58 percent of the persons had good physical ability. From the analytical results, the mean blood cholesterol and triglyceride levels obtained before and after the campaign were statistically significantly different (p-value < 0.05), whereas the means of fasting blood sugar and body mass index were not statistically different. As exercise is known to be necessary for health, this study of the running campaign was conducted in the hope that, if the persons studied could change their behavior so that they took exercise regularly for better health, they could become leaders in promoting exercise in the community.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v1n3 ...
ขนาด: 159.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 66
ปีพุทธศักราชนี้: 41
รวมทั้งหมด: 674
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1372]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV