บทคัดย่อ
การวิจัยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก และเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก ระยะเวลาการเป็นอสม. ความเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีกและพื้นที่ที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.อำเภอผักไห่ จำนวน 265 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและหาความเชื่อมั่น เก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2550 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติอ้างอิง (t-test, F-test) อสม. ร้อยละ 83.4 เป็นหญิง, ร้อยละ 37.4 มีอายุช่วง 50-59 ปี, ร้อยละ 68.3 จบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 60 เป็นอสม. มา 5-15 ปี ร้อยละ 87.5 มีอาชีพไม่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีกร้อยละ 93.6 อยู่อาศัยในพื้นที่ไม่เป็นพื้นที่เสี่ยง, ร้อยละ 80 มีระดับความรู้เรื่องไข้หวัดนกอยู่ในระดับสูง, ร้อยละ 58.9 มีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกพบว่า อสม. ที่มีเพศต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกไม่แตกต่างกัน ผู้ที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระดับความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก ระยะเวลาการเป็นอสม. การเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก พื้นที่ที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานสาธารณสุขและปศุสัตว์ จัดการอบรมเข้มให้ความรู้แก่อสม. อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และครอบคลุมทุกพื้นที่และเข้าถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ทำการศึกษาปัญหาและความต้องการในการปฏิบัติงานเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ ไปพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อไป
บทคัดย่อ
This research involved a descriptive study, the objectives of which were to assess
the knowledge of and the level of preventive behaviors for avian influenza (bird flu),
including the comparative avian flu prevention behaviors of district public health volunteers
in Phakhai District, Phranakhon Si Ayutthaya Province, as categorized by sex, age, educational background, level of knowledge, work experience as district public health
volunteers, and relationship between poultry and one’s residence. The samples comprised
265 district public health volunteers. The instrument used for data collection was
a questionnaire verified for content validity and reliability. Data were collected in August
2007. Descriptive and inferential statistics (t-test, F-test) were used for analysis. Most
of district public health volunteers were female (83.4%), aged between 50 and 59 (37.4%),
who had compleated primary school (68.3%), with 5-15 years of experience as district
public health volunteers (60%), not involved in poultry business (87.5%), and resided in a
non-risk area (93.6%). The sample for the most part had a high level of knowledge about
avian influenza (80%). The prevention behaviors for avian flu were at a moderate level
(58.9%). The comparison of preventive behaviors for avian influenza demonstrated that
the sex of the district public health volunteers was not related to preventive behavior,
while age, educational background, level of knowledge, work experience of district public
health volunteers, relationship between poultry and their residence, did affect the prevention
behavior for avian flu at the 0.05 level of statistical significance.
Suggestions for this study were that public health and livestock officers should provide
intensive learning programs for district public health volunteers so that they could
improve their prior incorrect practices by regularly imparting knowledge about avian
influenza to people in every area, encouraging people to understand the present situation.
It was also necessary to study problems and operational requirements in order to
apply the findings of the study report for potential development.