บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และประสบการณ์ผู้ป่วยในการใช้บริการรักษาพยาบาลตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” โดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบย้อนหลัง สุ่มสัมภาษณ์ด้วยวิธี simple random sampling จากหมายเลขประจำตัวประชาชนของผู้ป่วยฉุกเฉินที่ใช้บริการฉุกเฉินระหว่างเดือน สิงหาคม – ตุลาคม ๒๕๕๕จากข้อมูลการเบิกจ่ายเงินชดเชยค่าบริการในระบบ Emergency Medical Claim Online (EMCO) ๒๙๒ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ ๑๐๕ราย ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม ๙๕ ราย และผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ๙๒ราย ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มาใช้บริการภายใต้นโยบายดังกล่าวส่วนใหญ่รับรู้นโยบาย แต่ยังมีความคลาดเคลื่อนในนิยาม ใช้บริการด้านอายุรกรรมเป็นหลัก และใช้บริการผู้ป่วยใน ร้อยละ ๙๑ ของผู้ป่วยทั้งหมดเดินทางมารับบริการและเลือกสถานบริการด้วยตนเอง ร้อยละ ๘๕ ของผู้ป่วยให้ความสำคัญในเรื่องของระยะทางและคุณภาพของบริการของโรงพยาบาล มีเพียงร้อยละ ๒ เลือกใช้บริการ ๑๖๖๙ และร้อยละ ๑๗ ทราบความครอบคลุมและแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของนโยบาย ผู้ป่วยฉุกเฉินส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะไม่ถูกถามสิทธิก่อนการดูแลรักษา แต่การถูกถามสิทธิยังคงเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อนการเบิกจ่ายจากกองทุน เกิดภาระต่อผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยส่วนมากไม่รู้ช่องทางร้องเรียนและรักษาสิทธิของตน
บทคัดย่อ
This study aims to assess patients’ perception and experiences in emergency medical service under
the harmonization policy for three health insurance schemes. A telephone interview using a semi-structured
questionnaire was employed. The study population used medical care in private non-contracted
hospitals, appeared in the Emergency Medical Claim Online database (EMCO) during August-October
2012, and was selected by simple random sampling through personal identity number. Of the 292 patients
interviewed, 105 cases were from the Universal Coverage scheme; 95 cases from the Social Security Scheme;
and 92 cases from the Civil Servant Medical Benefit Scheme. Most patients were aware of the policy, but
not the definition and boundary of the valid conditions under the policy. Most came with medical conditions
and used in-patient care service (91%). The majority chose (92%) and came (91%) the hospital by
themselves; only 2 percent called 1669 EMS. 85 percent of the patients based their selection of the health
services on the distance and quality of the hospitals. Less than 17 percent were aware of their benefits and
the referring process. Most of them were asked to pay, despite the policy stating the contrary, thus imposing a burden on them and their families. Most knew neither the hotline number nor a place to lodge their complaints.