• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การตายที่หลีกเลี่ยงได้ในประเทศไทย พ.ศ. 2552

ขนิษฐา กู้ศรีสกุล; Khanitta Kusreesakul; กาญจนาวดี ประสิทธิสา; Kanjanawadee Prasittisa; กนิษฐา บุญธรรมเจริญ; Kanitta Bundhamcharoen;
วันที่: 2557-03
บทคัดย่อ
การตายที่หลีกเลี่ยงได้เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สำคัญในการประเมินคุณภาพการรักษาพยาบาลหรือการพัฒนานโยบายสุขภาพของประชากรที่ใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยแสดงการตายจากสาเหตุที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น หากมีมาตรการทางสุขภาพที่เหมาะสม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราการตายที่หลีกเลี่ยงได้ในประชากรไทย ใน พ.ศ. 2552 และแนวโน้มระหว่าง พ.ศ. 2547-2552 โดยใช้ข้อมูลการตายจากสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย คำนวณโดยใช้อัตราการตายมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ผลการศึกษาพบว่า การตายที่หลีกเลี่ยงได้ของประชากรไทย พ.ศ. 2552 คิดเป็นร้อยละ 36.7 ของการตายทั้งหมดในทุกกลุ่มอายุ อัตราการตายมาตรฐานในเพศชายโดยรวมสูงกว่าเพศหญิงประมาณสองเท่า และลดลงจาก 332.6 และ 178.8 ต่อประชากรแสนคน เป็น 288.1 และ 149.7 ในปี 2547 และ 2552 ตามลำดับ สาเหตุการตายสูงสุดสามลำดับแรกคือโรคติดเชื้อชนิดแบคทีเรียและโปรโตซัว การฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเอง และมะเร็งตับ โดยสรุปช่วงพ.ศ. 2547-2552 การตายที่หลีกเลี่ยงได้ของประเทศไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ความถูกต้องของการประเมินการตายที่หลีกเลี่ยงได้ขึ้นกับคุณภาพข้อมูลจากมรณะบัตร การพัฒนาคุณภาพข้อมูลมรณะบัตรจึงมีความสำคัญ

บทคัดย่อ
Avoidable mortality, defined as deaths which should not have occurred when effective public health and medical interventions were available, is a widely-used indicator for quality and effectiveness of the healthcare system in developed countries. This study aimed to estimate the avoidable mortality from the death registry in Thailand in 2009 and its trend from 2004 to 2009. We applied a list of avoidable causes of mortality and age limits based on the Australian and New Zealand study. Vital registration data were used to calculate age- and sex- specific death rates and standardized with the reference from the World Health Organization World Population. The findings showed that avoidable mortality amounted to 36.7% of total deaths in 2009. The rate for men was approximately double that for women throughout the period. Age-standardized mortality rates for men and women decreased from 332.6, and 178.8 per 100,000 to 288.1, and 149.7 per 100,000 in 2004 and 2009, respectively. The top three causes in 2009 were invasive bacterial and protozoan infectious diseases, followed by suicide, self-inflicted injuries and liver cancer. There was a notable reduction in avoidable mortality in Thailand from 2004-2009. But since the estimation relies on the cause-of-death information, effort to improve data quality is required.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v8n1 ...
ขนาด: 482.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 74
ปีพุทธศักราชนี้: 38
รวมทั้งหมด: 962
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV