บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลระดับไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน มีวัตถุประสงค์เพื่อพิเคราะห์ผลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและความสัมพันธ์ระหว่างการดูแลตนเองด้านโภชนาการและการดูแลสุขภาพตนเองกับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่ได้รับการรักษาด้วยยากินอย่างต่อเนื่องที่คลินิคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือน มกราคม 2544 ถึง เดือนมิถุนายน 2548 วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณาและเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหาสาเหตุ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์และช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินที่มีน้ำหนักตัวและอายุที่ต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของระดับไขมันในเลือด สำหรับการดูแลตนเองด้านโภชนาการดี (ร้อยละ 16.1) และการดูแลสุขภาพตนเองดี (ร้อยละ 16.1) พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการและการดูแลสุขภาพตนเองไม่ดีมีแนวโน้มเพิ่มโอกาสการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การไม่จำกัดอาหารพวกแป้ง การไม่จำกัดอาหารประเกทเนื้อสัตว์ติดมัน ถั่ว เต้าหู้ นมจืด การไม่ตรวจตามแพทย์นัด การไม่สวมรองเท้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ป้องกันการมีบาดแผลที่เท้า เพิ่มโอกาสการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้เป็น 0.33, 0.69, 4.47 และ 18.35 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ
Background This study of 118 non-insulin-dependent diabetes mellitus patients
attending the out-patient department of Tesabarn Nakorn Chiangmai Hospital in the period
from January 2001 to June 2005 was conducted in order to study factors that affect
the change in blood sugar and blood lipid levels of those practicing self-dietary control
and self-care behavior.
Methods To evaluate the effects of dietary self-control, and self-care behavior on
blood sugar and blood lipid levels, a descriptive and retrospective study using an interview
form and a blood sugar record form was undertaken.
Results Of the total 118 patients aged 33-86 years, comprising 33 males (27.97%) and 85 females (72.03%), 66 of them (55.93%) had blood sugar levels below 120 mg/dl; 36
(30.51 %) had blood sugar levels of 121-140 mg/dl; and 16 (13.56%) had blood sugar
levels above 140 mg/dl. Sixty-nine patients (58.47%) had total cholesterol levels above
200 mg/dl; 58 patients (49.15%) had triglyceride levels above 150 mg/dl; 60 patients
(50.85%) had low-density lipid levels (LDL-C) above 130 mg/dl; and 46 patients (38.98%)
had high-density lipid (HDL-C) levels below 40 mg/dl.
Normal body mass index (BMI), good dietary control and good self-care behavior
tended to decrease blood sugar levels better than others, but the result was not statistically
significant.
Conclusions Multi-medical personnel should work together in the management of
diabetic patients in order to enable good control of blood sugar levels.