บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของแนวคิดรูปแบบทางสังคมของความทุพพลภาพและแนวคิดสิทธิมนุษยชนคนพิการซึ่งได้รับอิทธิพลจากองค์กรระดับนานาชาติ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาแผนงาน และโครงการที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ รวมทั้งอิทธิพลของสองแนวคิดข้างต้นที่ส่งผลต่อรูปแบบและประเด็นข้อเรียกร้องของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองด้านคนพิการในประเทศ 2)
เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุดมการณ์และแนวคิดหลักด้านการพัฒนาคนพิการในระดับองค์กรนานาชาติ (global) (แนวคิดรูปแบบทางสังคมของความทุพพลภาพ และแนวคิดสิทธิมนุษยชนคนพิการ) กับระดับท้องถิ่น (local) ขององค์กรรัฐหรือองค์กรเอกชนในประเทศ รวมทั้งอิทธิพลจากปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวที่ปฏิบัติการ ณ ระดับชีวิตประจำวันของคนพิการ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอจัดตั้งแผนงานศึกษาวิจัยด้านสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาคนพิการ โดยเน้นแนวคิดและระเบียบวิธีการศึกษาคนพิการภายใต้แนวคิดสังคมศาสตร์ร่วมสมัยและสหวิทยาการ งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบว่า เรือนร่างทุพพลภาพของคนพิการกลายเป็นเรือนร่างทางการเมือง โดยอำนาจชีวญาณของรัฐไทยในแต่ละยุค เรือนร่างพิการกลายมาเป็นพื้นที่ที่อำนาจชีวญาณปฏิบัติการสองรูปแบบไปพร้อมกัน คือ ดึงเรือนร่างที่พิการเข้ามาเพื่อเบียดขับออกไป กล่าวคือ ในด้านหนึ่งดึงเรือนร่างที่พิการเข้ามาเพื่อควบคุม สอดส่องกำกับ พร้อมกับอีกด้านหนึ่งได้สร้างระบอบความจริง และการจัดประเภทจำแนกแยกแยะคนพิการไปพร้อมกัน เทคโนโลยีทางอำนาจของรัฐไทยทำให้คนพิการกลายเป็นพลเมืองที่
ก้ำกึ่งระหว่างการเป็นพลเมือง/ไม่ใช่พลเมือง และคนพิการกลายเป็นบุคคลผู้มีเรือนร่างที่ก้ำกึ่งระหว่าง มีสมรรถภาพ/ไม่มีสมรรถภาพ ปฏิบัติการของอำนาจชีวญาณของรัฐไทยยังสอดคล้องกับอุดมการณ์กรรมและเวทนานิยมของพุทธเถรวาท ที่มีมุมมองต่อคนพิการในฐานะ “วัตถุแห่งการสงเคราะห์” นอกจากนั้น การเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองบนพื้นฐานแนวคิดรูปแบบทางสังคมของความทุพพลภาพกลับมาตอกย้ำ
นิยามความพิการของแนวคิดรูปแบบทางการแพทย์ เหตุผลหลักเนื่องจากทั้งแนวคิดรูปแบบทางการแพทย์และแนวคิดรูปแบบทางสังคมมีฐานคติเดียวกันคือ มีมุมมองต่อร่างกายพิการบนพื้นฐานชีววิทยาและความบกพร่องของอวัยวะร่างกาย รวมทั้งเป็นการเคลื่อนไหวต่อสู้ภายใต้กรอบจารีตหลักการมอง “ร่างกายที่สมบูรณ์” และ “ร่างกายที่ดี” ของสังคมซึ่งเป็นระบอบคุณค่าคู่ตรงข้ามของ “ร่างกายที่พิการ” แต่ต้น
นอกจากนั้น แนวคิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับอิทธิพลจากองค์กรระดับนานาชาติกลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่องค์กรพัฒนาเอกชนด้านคนพิการใช้ในการต่อสู้ท้าทายอุดมการณ์กรรมและวาทศิลป์ความเมตตากรุณาของพุทธเถรวาทที่เป็นกรอบคิดหลักเชิงคุณค่าที่สังคมปฏิบัติต่อคนพิการ ผลลัพธ์ที่ตามมาคือสิทธิมนุษยชนกลายเป็นภาษาเชิงศีลธรรมใหม่ที่ใช้ในการจำแนกแยกแยะและจัดประเภทคนพิการที่ดีและคนที่ไม่ดี คนพิการที่ดีคือคนพิการที่ปฏิบัติตัวอย่างสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การพึ่งพาตนเองได้โดยไม่เป็นภาระกับคนในสังคม กับคนพิการที่ไม่ดีซึ่งอยู่ตรงข้ามกับคุณค่าดังกล่าว งานวิจัยชิ้นนี้เสนอกรอบคิดหลักเชิงทฤษฎีเพื่อพัฒนาแผนงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาคนพิการ โดยเน้นการศึกษาโลกชีวิตหรือประสบการณ์ทางสังคมของคนพิการที่ถูกก่อรูปจากทั้งอิทธิพลเฉพาะของท้องถิ่นกับอิทธิพลจากอุดมการณ์และวาทกรรมขององค์กรระดับโลกาภิวัฒน์ นอกจากนั้นงานวิจัยชิ้นนี้เสนอว่าเพื่อให้การก่อตั้งและพัฒนาแผนงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาคนพิการบรรลุตามวัตถุประสงค์จำเป็นต้องเน้นยุทธศาสตร์การใช้กระบวนการวิจัยในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ (research as knowledge generating tool) และเครื่องมือในการสร้างชุมชนนักวิชาการหลากหลายสาขาวิชา รวมทั้งเน้นยุทธวิธีสำคัญ 2 ระดับได้แก่ กลไกความร่วมมือด้านการบริหารจัดการและกลไกความร่วมมือด้านการทำวิจัย
บทคัดย่อ
This study has three main objectives first, to study influence of social model of
disability and human rights of disabled people approach which reflect to project, plan
and social movement of disabled people in Thailand. Second, to study interaction
between ideology and discourse in Global level with social practice and implement of
organizations in local setting which exercise over disabled people’s social life. Third, to
develop the contemporary social science research on disabled people program
This study shows that transformation in policies of the Thai state, economic and
political contexts, the discourse power of international organisations and Humanitarian
reason of Theravada Buddhism contribute to the generation of an ethic regime of the
proper body of Thai citizens. As a result, the impaired body became a ‘political object’
and problematized as ‘moral-political object’. People with an impairment in Thailand
have lived in an ambiguous situation between citizen and non-citizen, or between able
bodied and disabled bodied. Their ambiguous situations are excluded by means of an
inclusion through the technology of power in the modern Thai state. This study argues a
weak point of the social model’s dualism: the model considers that impaired body is
neutral phenomena while disability is a social construction this study discusses the
emphasis within the model that there is no pure or natural body, impaired body is not a
naturalistic and it is, in essentialist term, as pre-social and ahistory which is free from
biopolitics, and existing outside of discourse. This study shows that disabled people are
products of technology of power and biological discourse in modern Thai state
Moreover, this research reveals the ideology of human rights as the political-moral
project in global that is translated in local by associations and social activists in Thailand.
As a result, human rights as moral language and moral progress are being transformed into
a political apparatus to respond to the discourse about morality in local by Karma
ideology and rhetoric of Vedana of Theravada Buddhist. This research also shows that the
human rights of people with disabilities to establish itself to become a dominant moral
discourse has created a singular moral category. The results is that it is discrimination
against people with disabilities of some kind especially blind singers whose image is close
to the image of beggars that social activists who are active in social politics on the
concept of human rights tried to eliminate.
The finding of this study lead to the suggestion that the framework of social
science research on disabled people program should understand disabled people’s life world as the produce of interaction between Global ideology with local moral world.
Moreover, this study suggests that in order to develop the research program has to
focuses on strategies which use research process as knowledge generating tool and tactics
which emphasize on management cooperation and research cooperation