บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราและปัจจัยต่อการกลับไปประกอบอาชีพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายหลังการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพจากสถาบันประสาทวิทยา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา
ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 198 ราย ที่เข้ารับการรักษาและจำหน่ายจากสถาบันประสาทวิทยา ระหว่างเดือนมกราคม 2553 ถึงเดือนธันวาคม 2554 โดยการสืบค้นฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์และทบทวนเวชระเบียนเพื่อคัดเลือกและเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา ส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับการกลับไปประกอบอาชีพทางไปรษณีย์ รวบรวมข้อมูลที่ได้จากเวชระเบียนและแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 142 คนใน 198 คน (ร้อยละ 71.72) สามารถกลับไปประกอบอาชีพได้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับไปประกอบอาชีพของผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ อาชีพ ลักษณะงาน ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ความผิดปกติของภาษาและการสื่อสาร ความผิดปกติของระดับความรู้สึกตัว, คะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel Index) ก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล และการได้รับการทำกายภาพบำบัดระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล การวิเคราะห์แบบ multivariate analysis พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เพียง 2 ปัจจัย คือ อาชีพ และคะแนน Barthel Index ก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยค่า odd ratio (และ 95% confidence interval) ของกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนเมื่อเทียบกับกลุ่มข้าราชการ/พนักงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ และกลุ่มที่มีคะแนน BI 80-100 เทียบกับกลุ่มที่มีคะแนน BI 0-39 เท่ากับ 1.279 (0.255-6.41) and 7.333 (2.821-19.062) ตามลำดับ รวมทั้งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกลับไปประกอบอาชีพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือ อาชีพและคะแนนBarthel Index ก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล
บทคัดย่อ
We aim to study the rates and correlating factors of stroke patients returning to work after treatment
byretrospective descriptive cohort at Prasat Neurological Institute. 198 stroke patients who received treatment
and were subsequently discharged from the Prasat Neurological Institute during January 2010 to
December 2011.Patient medical records were reviewed to select patients who satisfied the inclusion criteria
of the study. Follow-up questionnaires about patient’s return to work were sent to the patients via post.
71.72 % of the 198 stroke patients surveyed could return to work. Statistically significant differences
were found when accounting for occupation, job characteristics, muscle weakness, aphasia of speech,
altered level of consciousness (Glasgow coma score<15), pre-discharge Barthel Index (BI) score, and physical
therapy during hospital admission. Multivariate analysis indicated that only occupation and pre-discharge
BI score contributed to the prediction of returning to work. Patients from private companies vs. governmental
employees had BI scores of 80-100 vs. 0-39, with an odds ratio of 1.279 (0.255-6.41) and 7.333 (2.821-
19.062) respectively. Significant predictors for returning to work after stroke were occupation and predischarge
BI score.