• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ศักยภาพขององค์กรท้องถิ่นในการจัดการดูแลผู้สูงอายุทุพพลภาพในชุมชน

กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์; สุพัตรา ศรีวณิชชากร; จุฑาธิป ศีลบุตร; เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล; สมชาย วิริภิรมย์กูล; Kawinarat Suthisukon; Supattra Srivanichakorn; Jutatip Sillabutra; Kriengsak Thamma-Aphiphol; Somchai Viripiromgool;
วันที่: 2557-06
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพขององค์กรท้องถิ่นในการจัดการดูแลผู้สูงอายุทุพพลภาพในชุมชน ปัญหาอุปสรรค ความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนและข้อเสนอแนะ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่าองค์กรท้องถิ่นมีการจัดการดูแลผู้สูงอายุทุพพลภาพโดยใช้หลักการจัดการ 4 M ได้แก่ 1) ด้านบุคลากร ผู้บริหารนายกเทศบาล อบต. และหน่วยงานสาธารณสุข อสม. ลงเยี่ยมบ้าน 2) ด้านงบประมาณ สนับสนุนงบประมาณให้เจ้าหน้าที่รพสต. อสม. ในการส่งเสริมสุขภาพ 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีการแจกอุปกรณ์ และ 4) ด้านการจัดการ มีการจัดตั้งโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน การจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. สื่อสารประชาสัมพันธ์ บริการรถ-รับส่งผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง ความต้องการของผู้สูงอายุทุพพลภาพ คือ ต้องการให้มีการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Day Care Center ) ในชุมชน มีบุคลากรทางการแพทย์ หรือ ผู้ที่ผ่านการอบรมดูแลผู้สูงอายุสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาดูแล มีการปรับภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเริ่มต้นเดือนละ 1,000 บาท และมีสายด่วนโดยตรงกับเทศบาล หรืออบต. ในพื้นที่สำหรับติดต่อประสานงานเวลามีเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ องค์กรท้องถิ่นไม่มีบุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุทุพพลภาพ และขาดความร่วมมือจากบุคคลในครอบครัว ข้อเสนอแนะ คือ เครือข่ายภาคี ครอบครัว ชุมชุน ควรบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยการจัดอบรมให้ความรู้ผู้ดูแล สนับสนุนเงิน หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายและเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ พร้อมทั้งร่วมจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Day Care Center)

บทคัดย่อ
The action research was conducted to study the potential of local organizations on elderly care management, especially for the disabled elderly in the community, and to assess their needs. The results showed the potentials of local organizations on disabled elderly care management in 1) manpower: multidisciplinary teams give care in community 2 ) money: there are budgets to support health promotion activities, 3 ) materials: materials and equipments were distributed to the elderly and 4 ) management: local organization provides peer-education programs, training for community leader and health volunteers, communication assistance and also 24-hour mobile car for referral. Lack of trained elderly caregivers and the cooperation of family members were the barriers on elderly care management. The elderly needs a day-care center, trained caregivers, a suitable environment, increased welfare allowance, and 24-hour hot-line service. Both government, private organizations and family members should therefore collaborate on establishing an elderly care training, budget or material support, and a day-care center.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v8n2 ...
ขนาด: 320.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 202
ปีพุทธศักราชนี้: 123
รวมทั้งหมด: 4,145
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV