แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินผลการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ระหว่างปี 2552-2556

dc.contributor.authorศุภวรรณ เกตุอินทร์th_TH
dc.contributor.authorSupawan Ked - Inen_US
dc.date.accessioned2014-07-18T02:52:46Z
dc.date.available2014-07-18T02:52:46Z
dc.date.issued2557-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2557) : 167-175th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4072
dc.description.abstractศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี เป็นห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาสาธารณสุขต่าง ๆ ในเขตบริการสุขภาพที่ 10 ได้นำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการโดยใช้ซิปโมเดล (CIPP model) ซึ่งเป็นการประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้าของการพัฒนา 3) ด้านกระบวนการพัฒนา และ 4) ด้านผลผลิตของการพัฒนา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิมาวิเคราะห์ รวมถึงการสำรวจความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถาม ในกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้รับบริการด่านหน้า 2)ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร/หัวหน้าฝ่ายของหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพที่ 10 ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ผลการประเมินการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการนั้น ในส่วนของคุณภาพการให้บริการนั้นเห็นได้จากผลการทดสอบความชำนาญระหว่างห้องปฏิบัติการซึ่งมีรายการทดสอบผ่านตามเกณฑ์ร้อยละ 82.3 และจำนวนครั้งของการทดสอบที่มีผลถูกต้องร้อยละ 90.4 มีระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละ 83.0 -90.0 และมีข้อร้องเรียน จำนวน 2-19 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2552 -2556 ในส่วนของประสิทธิภาพของการให้บริการเห็นได้จากสถิติการให้บริการที่ทันตามกำหนดของ ปีงบประมาณ 2552-2556 คิดเป็นร้อยละ 89.2, 97.5, 98.8, 97.6 และ 95.2 ตามลำดับ ในส่วนของผลลัพธ์จากการพัฒนาคือ การได้รับรองมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025:2005 สำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ และ ISO 15189 สำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ตลอดจนได้รับประกาศเกียรติคุณความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำปี 2556 ระดับเงินจากกระทรวงสาธารณสุขด้วย การพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี มีความสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศอีกทั้งมีความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น มีนโยบายด้านระบบคุณภาพของผู้บริหาร มีการกำหนดหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณภาพ แต่งตั้งบุคคลและคณะบุคคล รวมถึงจัดตั้งหน่วยย่อยมารับผิดชอบการพัฒนาระบบคุณภาพ ตลอดจนมีงบประมาณเพื่องานด้านการประกันคุณภาพ รวมถึงการตรวจติดตามภายในด้วย อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ เป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอเพื่อการพัฒนาสู่การเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในภูมิภาคอาเซียนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectห้องปฏิบัติการth_TH
dc.subjectการประกันคุณภาพth_TH
dc.titleการประเมินผลการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ระหว่างปี 2552-2556th_TH
dc.title.alternativeEvaluation on the Development of Laboratory Quality System Regional Medical Sciences Center 10th Ubon Ratchatani During 2009 - 2013en_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeRegional Medical Sciences Center 10th Ubon Ratchatani is the medical and public health laboratories which play an important role in public health surveillance and improvement for the Regional of Service Provider 10th. Laboratory Quality System was used as a parameter for customers reassuring. To evaluate the development of laboratory quality system, the CIPP model including context, input, process, and product evaluation was used. In this process, the secondary data was collected as well as the questionnaires for customers, satisfaction surveys of the target groups including customers, official workers and executive/head of the agency in the Regional of Service Provider 10th during July to September. The results concern the quality, efficiency of the service, and outcome of the development. The service quality showed that 82.3% of the items passed the criteria for an inter-laboratories proficiency testing while 90.4% of the proficiency testing showed the accurate results. The customer’s satisfaction also showed 83.0-90.0 % and moreover, customer’s complaint showed 2-19 items in fiscal year 2009-2013. The service efficiency showed that 89.2, 97.5, 98.8, 97.6 and 95.2% of the tests were completed by the cutoff time in fiscal year 2009 - 2013, respectively. In addition, development outcomes are ISO/IEC 17025 for testing laboratory; ISO 15189 for medical laboratories; and the silver award for excellence in medical and public health laboratory of the year 2013 from the Ministry of Health. The present study showed that the development of the Laboratory Quality System of the Regional Medical Sciences Center 10 Ubon Ratchathani is consistent with an organizational policy for international standard. Laboratory Quality System is a continual improvement process which requires continuous support so as to become the reference laboratories in the Asian region.en_US
dc.subject.keywordการควบคุมคุณภาพth_TH
dc.subject.keywordระบบคุณภาพth_TH
dc.subject.keywordLaboratory Quality Assuranceen_US
dc.subject.keywordQuality systemen_US
.custom.citationศุภวรรณ เกตุอินทร์ and Supawan Ked - In. "การประเมินผลการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ระหว่างปี 2552-2556." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4072">http://hdl.handle.net/11228/4072</a>.
.custom.total_download1099
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month10
.custom.downloaded_this_year86
.custom.downloaded_fiscal_year15

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v8n2 ...
ขนาด: 175.3Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย