• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์

พิมพ์วรา สิงหภิวัฒน์; Pimwara Singhapiwat; ประจักร บัวผัน; Prachak Bouphan;
วันที่: 2557-09
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 207 คน โดยการสุ่มแบบเป็นระบบ จากกลุ่มประชากร 324 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 0.97 และสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 12 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows แจกแจงข้อมูลโดยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเปอร์เซ็นไทล์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.6) อายุเฉลี่ย 40.80 ปี สถานภาพคู่ร้อยละ 67.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 87.9 มีรายได้เฉลี่ย 27,004 บาท/เดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเฉลี่ย 10.35 ปี และเคยได้รับการฝึกอบรมด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานร้อยละ 60.4 แรงจูงใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.68 (S.D. = 0.42) การสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.64 (S.D. = 0.52) และการประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.79 (S.D. = 0.52 ) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์พบว่าแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 (r = 0.649,p-value< 0.001,r = 0.575, p-value< 0.001,r = 0.779,p-value< 0.001ตามลำดับ) และตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ การสนับสนุนจากองค์การด้านวิธีการดำเนินงาน(p-value <0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายของหน่วยงานและการบริหาร(p-value 0.007) ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ(p-value =0.002) การสนับสนุนจากองค์การด้านเวลา(p-value = 0.0191) การสนับสนุนจากองค์การด้านเทคโนโลยี(p-value =0.009) ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน(p-value =0.025) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรอิสระทั้ง 6 ตัวสามารถร่วมพยากรณ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 68.9 ปัญหาอุปสรรคส่วนใหญ่คือ การสนับสนุนจากองค์การด้านบุคลากรร้อยละ 37.21

บทคัดย่อ
This study was a cross-sectional descriptive research. The purposes were to study motivation and organizational support affecting an evaluation of the public health officers at subdistrict health promoting hospitals in Buri Ram Province. Population size was 324 persons and a sample size of 207 persons was selected by systematic random sampling. The research instruments were the questionnaires. The Cronbach coefficient of instrument was 0.97 and validity was checked by 3 experts. The 207 questionnaires and The 12 in-depth interviews were collected by a research assistant during 1 February 2014 to 28 February 2014. The data was analyzed by SPSS for windows program to acquire a percentage, mean, standard deviation, percentile, Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression. The findings revealed that most males (53.6 %) with the average age of 40.80 years. The marital status was 67.1%. The educational degree was a Bachelor’s degree or equivalent for 87.9 %, Duration of working as public health officers, at subdistrict health promoting hospitals was averaged at 10.35 years. They were used in 60.4% of practice in evaluation programs. It was revealed from the study that The overall motivation was in a high level at an average 3.68 (S.D. = 0.42). The organizational support at high level averaged 3.64 (S.D. = 0.52). And an evaluation of the public health officers at subdistrict health promoting hospitals in Buri Ram Province at high level, average 3.79 (S.D. = 0.54).The motivation factors and hygiene factors, also an organizational support, were positive influence on an evaluation of the public health officers (r = 0.649, p-value < 0.001; r = 0.575, p-value < 0.001; and r = 0.779, p-value < 0.001, respectively). Six factors that could predict an evaluation of the public health officers at subdistrict health promoting hospital in Buri Ram Province including Organizational Support in management, Company policy and Administration, Responsibility, Organizational Support in Time, Organizational Support in Technology and Job Security with a level of statistical significance (68.9%). The main problem from the study was the Organizational Support in human resources for 37.21%
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v8n3 ...
ขนาด: 207.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 68
ปีพุทธศักราชนี้: 46
รวมทั้งหมด: 2,547
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1372]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV