• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การจัดทำหลักเกณฑ์ราคาเบิกจ่ายยา: กรณีส่งต่อผู้ป่วยนอก/พิการ/อุบัติเหตุและฉุกเฉินของ สปสช. เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ศิริพา อุดมอักษร; Siripa Udomaksorn; นุศราพร เกษสมบูรณ์; Nusaraporn Kessomboon; สุรฉัตร ง้อสุรเชษฐ์; Surachat Ngorsuraches; รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์; Rungpetch Sakulbumrungsil; อินทิรา กาญจนพิบูลย์; Inthira Kanchanaphibool; ไพทิพย์ เหลืองเรืองรอง; Paithip Luangruangrong; กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย; Kunwadee Sripanidkulchai;
วันที่: 2557-12
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเบิกจ่ายค่ายาผู้ป่วยนอกให้แก่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เฉพาะกรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ ฉุกเฉินและผู้พิการ การวิจัยนี้ใช้แนวคิดสำคัญ 3 ประการในการออกแบบหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเบิกจ่ายยา ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดคุณภาพทั้งด้านผลิตภัณฑ์ยาและด้านคุณภาพการรักษา การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาและความยั่งยืนของระบบการเบิกจ่ายยา ทำการทดสอบรูปแบบตั้งต้นแบบต่างๆ โดยใช้ข้อมูลการเบิกจ่ายค่ายาปี 2555 ของโรงพยาบาล 9 แห่งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาได้เสนอหลักเกณฑ์การกำหนดราคาเบิกจ่ายค่ายาในรูปแบบอัตราส่วนถดถอยแบบขั้นบันไดตามราคายาที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดอัตราแตกต่างกัน 3 รูปแบบ คือ สำหรับการเบิกจ่ายค่ายาโดยทั่วไป การเบิกจ่ายค่ายาสำหรับผลิตภัณฑ์ยามาตรฐาน GMP-PICs และผลิตภัณฑ์ยาที่มีช่วงการรักษาแคบ (Narrow Therapeutic Index) เพื่อให้เป็นกลไกสนับสนุนให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ยาที่มีคุณภาพมาตรฐานและคงมาตรฐานคุณภาพการรักษาพยาบาลในกรณีผลิตภัณฑ์ยาที่มีช่วงการรักษาแคบ ในขณะเดียวกันได้จัดวางกลไกเพื่อความยั่งยืนของระบบโดยกำหนดให้ใช้ราคากลางของยาซึ่งประกาศโดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นราคาฐานสำหรับคำนวณราคาเบิกจ่าย เนื่องจากกระบวนการประกาศราคากลางเป็นกลไกที่มีอยู่แล้ว และมีการปรับปรุงข้อมูลตามราคายาที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะอีกด้วย สำหรับกลไกการควบคุมต้นทุนค่ารักษาพยาบาลที่ได้วางไว้ในข้อเสนอนี้ คือการกำหนดราคาเบิกจ่ายที่ราคาเดียวสำหรับยาที่มีชื่อสามัญทางยาชื่อเดียวกัน กำหนดอัตราบวกเพิ่มที่น้อยลงสำหรับบาทท้ายๆของค่ายา เป็นเงื่อนไขที่ส่งเสริมให้ผู้ให้บริการเลือกใช้ยาราคาถูกมากกว่าราคาแพง ร่วมกับกำหนดอัตราบวกเพิ่มในอัตราต่ำกว่าอัตราบวกเพิ่มสำหรับตั้งราคาขายยาที่กำหนดโดยกรมบัญชีกลาง โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางการเงินในทางลบต่อโรงพยาบาล การศึกษานี้ได้พัฒนาข้อเสนอหลักเกณฑ์ และรูปแบบในการกำหนดราคาเบิกจ่ายค่ายาผู้ป่วยนอกในกรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ ฉุกเฉินและผู้พิการ โดยข้อเสนอดังกล่าวได้สอดแทรกกลไกสำคัญๆให้เป็นรูปแบบการกำหนดราคาเบิกจ่ายค่ายาที่มีความยั่งยืน ส่งเสริมคุณภาพการรักษาพยาบาลด้วยค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล เป็นทางเลือกเชิงนโยบายหนึ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในระบบประกันสุขภาพ

บทคัดย่อ
The objective of this study was to develop drug reimbursement prices for National Health Security Office (NHSO) Region #13, Bangkok. Specifically, it was intended to be used for outpatient referrals, disability, accident, and emergency. Proposed models were tested with claim data of nine hospitals. This study adopted three criteria, including quality, cost containment, and sustainability, to conceptualize the framework for the eimbursement prices.Results proposed 3 different models of regressive mark-up roportion for reimbursed price setting.These 3 models were tailored for 3 different groups of drug: pharmaceutical product in general, pharmaceutical product by GMP-PICs assured manufacturers and pharmaceutical product with Narrow therapeutic index; in order to promote uses of quality assured product and maintaining quality of health care service. The mechanism to ensure system sustainability was assigned by employing the reference prices enacted by Ministry of Public Health as the based price to calculate reimbursed price. This consistent and updated input of based price data will be promised. A number of cost containment mechanisms were also built in this model: setting single reimbursed price for one generic name of drug, assigning lower rate of markup proportion than what Comptroller General’s Department established, regressive markup proportion for the later baht of drug price which aimed to encourage cheaper pharmaceutical products prescribing. Finally, financial impact to stakeholders was thoroughly investigated and ensured. In conclusion, this study proposed a model of pharmaceutical reimbursed price setting for cases of out outpatient referrals, disability, accident and emergency. A number of crucial mechanisms has been deliberately incorporated in the model ensuring sustainability, promoting quality of care and optimal expenditure. This reimbursed price setting model is an applicable policy option for Thai health insurance system.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v8n4 ...
ขนาด: 250.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 97
ปีพุทธศักราชนี้: 59
รวมทั้งหมด: 1,817
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV