แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

dc.contributor.authorอัญชลีพร อมาตยกุลth_TH
dc.contributor.authorAnchaleeporn Amatayakulen_US
dc.contributor.authorวิไลพร ขำวงษ์th_TH
dc.contributor.authorWilaiporn Khamwongen_US
dc.contributor.authorพรรณิภา ทองณรงค์th_TH
dc.contributor.authorPannipa Thongnarongen_US
dc.coverage.spatialขอนแก่นth_TH
dc.date.accessioned2015-02-02T09:04:48Z
dc.date.available2015-02-02T09:04:48Z
dc.date.issued2557-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2557) : 375-381th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4239
dc.description.abstractถึงแม้ในแต่ละปีนั้น ประเทศไทยจะสามารถผลิตพยาบาลวิชาชีพได้ประมาณ 6,500 คนต่อปี จากสถาบันการศึกษาทางการพยาบาลทั้งหมดกว่า 80 แห่งแต่กลับพบว่าปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพยังมีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งเป็นการขาดแคลนทั้งด้านปริมาณกำลังคนและทักษะที่จำเป็นต่อการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนที่มีความหลากหลาย จังหวัดขอนแก่นก็มีสถานการณ์ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลไม่แตกต่างจากระดับประเทศมากนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล ในปีพ.ศ.2545 จังหวัดขอนแก่นจึงได้ริเริ่ม “โครงการผลิตพยาบาลชุมชน เพื่อชุมชน ของชุมชนและโดยชุมชน” โดยนำร่องขึ้นที่อำเภอน้ำพอง มีโรงพยาบาลน้ำพองเป็นแกนประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องในชุมชน จากโครงการฯดังกล่าวทำให้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในสถานีอนามัย/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลชุมชนลดลง รวมทั้งอัตราคงอยู่ในงานเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นร่วมกับโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลชุมชนที่มีความพร้อมและวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น จึงได้ขยายการผลิตพยาบาลชุมชน เพื่อชุมชน ของชุมชนและโดยชุมชน จังหวัดขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2552-2558 จำนวน 200 คน เพื่อให้มีพยาบาลชุมชนเพียงพอครอบคลุมการให้บริการทุกพื้นที่ ในการนี้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น ได้มีการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในหลักสูตรทั่วไปและกิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนักศึกษาพยาบาลในโครงการฯเพื่อพัฒนาทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในชุมชน จะเห็นได้ว่า โครงการฯ ดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการศึกษาและอัตรากำลังของวิชาชีพพยาบาลในจังหวัดขอนแก่นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรสาธารณสุขth_TH
dc.subjectพยาบาล,การศึกษาth_TH
dc.titleการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่นth_TH
dc.title.alternativeTransformative Learning for Community Nurse Production: A Case Study of Boromarajonani College of Nursing, Khon Kaenen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeAlthough approximately 6,500 nurses graduate from over 80 nursing institutions each year, there seems to be no end in sight to nursing staff shortage. This shortage is both in numbers and in terms of essential skills to meet the complex needs of the community. In Khon Kaen province, public health care settings have also faced the nursing staff shortage problem, especially at health centers in the rural areas. The health personnel data of Khon Kaen Provincial Office show that novice nurses prefer to work at the hospitals more than at the health centers and the attrition rate of the nurses in all levels of health care settings is high. To overcome the problem, the Community Nurse Production for Community and by Community Project was launched in Nam Phong District in 2002. It was effectively run and sustained by the collaboration of several organizations in the community. An evaluation revealed that the shortage was decreasing while the retention rate was increasing. Thus, Khon Kaen Provincial Office, Khon Kaen Hospital, readiness community hospitals and Boromarajonani College of Nursing, Khon Kaen agreed to expand the project to produce 200 community nurses within seven years, from 2009-2015, to cover most areas of Khon Kaen. After participating in the project, the college has adjusted teaching and learning activities of both curricular and co-curricular activities by using integrated education approach to develop essential knowledge and skills for community nursing students. Hence, it can be concluded that the Community Nurse Production for Community and by Community Project has significantly transformed nursing education and nursing workforce in Khon Kaen province.en_US
dc.subject.keywordกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
.custom.citationอัญชลีพร อมาตยกุล, Anchaleeporn Amatayakul, วิไลพร ขำวงษ์, Wilaiporn Khamwong, พรรณิภา ทองณรงค์ and Pannipa Thongnarong. "การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4239">http://hdl.handle.net/11228/4239</a>.
.custom.total_download1109
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year134
.custom.downloaded_fiscal_year20

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v8n4 ...
ขนาด: 139.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย