• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศไทย

เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์; ศิริขวัญ บริหาร; วีระศักดิ์ พุทธาศรี;
วันที่: 2558
บทคัดย่อ
การใช้ยาไม่สมเหตุผลเป็นปัญหาสำคัญของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาเกินความจำเป็น การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่คำนึงถึงเชื้อดื้อยา การใช้ยาราคาแพงนอกบัญชียาหลัก การใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย การใช้ยาโดยบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนใช้ยาด้วยตนเองที่ยังขาดข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีการประเมินคุณภาพการให้บริการสาธารณสุขอย่างกว้างขวางและมีมาตรฐานโดยหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานรับรองคุณภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพและกองทุนต่าง ๆ แต่การประเมินคุณภาพการสั่งยาและผลที่เกิดขึ้นตามมาในด้านความสมเหตุผลในการใช้ยังจำกัดอยู่เฉพาะด้านความปลอดภัยในการใช้ยา และส่วนใหญ่ใช้เพื่อการตรวจสอบกำกับดูแลมากกว่าเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพการใช้ยาให้สมเหตุผล การประเมินและติดตามสถานการณ์การสั่งยาที่ไม่เหมาะสมเป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ที่ควรทำก่อนการดำเนินการและติดตามผลการแก้ปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลเป็นระยะ ๆ จึงมีความจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สะท้อนปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลในปัจจุบัน มีความถูกต้องทางวิชาการ ที่เป็นที่ยอมรับและเป็นไปได้ในใช้จริง ผู้วิจัยจึงพัฒนาตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลชุดนี้ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2129.pdf
ขนาด: 1.031Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 9
ปีพุทธศักราชนี้: 7
รวมทั้งหมด: 1,040
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV