บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ ผู้ให้บริการและผู้กำหนดนโยบายต่อบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในประเทศไทย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2557 โดยจัดการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ 11 คน กลุ่มผู้ให้บริการ 13 คน และกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย 16 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการยังมีข้อจำกัด เนื่องจากการที่คนพิการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์และบริการต่างๆ ของภาครัฐ การมีคนช่วยเหลือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนพิการในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว รวมทั้งในการเดินทางไปรับบริการเหล่านั้น ในขณะที่ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้ให้บริการ และแหล่งข้อมูลข่าวสารและระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการที่หน่วยงานต่างๆ จัดทำขึ้นก็มีความแตกต่างกันทั้งในแง่ความครอบคลุมและคุณภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดการบูรณาการฐานข้อมูลร่วมกัน นอกจากนี้ยังขาดระบบบริหารจัดการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่เหมาะสม ผู้เข้าร่วมการสนทนาทุกกลุ่มเห็นตรงกันว่าชุดสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการในแต่ละระบบประกันสุขภาพมีความเหลื่อมล้ำ ทำให้คนพิการได้รับบริการและอุปกรณ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน อีกทั้งยังพบว่า คนพิการที่ได้งานทำจะต้องเปลี่ยนจากการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปเป็นสิทธิประกันสังคม ในขณะที่สิทธิประโยชน์ของระบบประกันสังคมครอบคลุมอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการน้อยกว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเสนอ (1) ให้มีกลไกประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เปิดโอกาสให้ตัวแทนคนพิการได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดนโยบายทุกระดับ (2) ดำเนินการบูรณาการฐานข้อมูล (3) เพิ่มอัตรากำลังบุคลากรผู้ให้บริการในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอ และ (4) ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพแต่ละกองทุนด้วยการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ร่วมกัน
บทคัดย่อ
This qualitative research aimed to examine the perspectives of three key informant groups purposively
selected from those who had direct experiences in receiving, providing medical rehabilitation services, and those responsible for development of related policy. The data were collected in May and
June 2014 in three focus group discussions (FGDs) involving 11 representatives of persons with disability
organizations, 13 service providers, and 16 executives and managers from respective policymaking
authorities. Content analysis was introduced in the data analysis.
The results showed that access to medical rehabilitation services including assistive devices among
persons with disability (PWDs) was limited. This was because PWDs did not get the information on
benefits and services provided in the public sector, and that most of them needed one or more accompanying
persons when they travelled to receive services. Other impediments included inadequate service
providers and the disparity, in terms of coverage and quality, of the information for PWDs disseminated
by public agencies. The lack of effective system for assistive devices management was identified as crucial
obstacle. It was agreed among FGD participants that health benefits for PWDs in the three governmentfinanced
schemes were different resulted in unequal access to services and assistive devices. Moreover,
when PWDs were employed by private business and therefore, transferred from the Universal Coverage
Scheme to the Social Security Scheme (SSS), their health benefits would be diminished because the latter
scheme covered fewer benefits than the former. To solve the problems as earlier mentioned, the FGD
participants proposed: (1) the National Committee for Empowerment of Persons with Disabilities to
develop mechanisms to strengthen the integration and collaborations of organizations that ensure quality
of life of PWDs and allow PWD representatives to participate in every level of policy making decisions;
(2) PWDs databases currently managed by different institutes be strengthened and integrated with each
other; (3) increase the numbers of health providers for PWDs in particular areas of the country; and
(4) reduce the disparity in health benefits by collectively develop a single benefit package for use in the
three government schemes.