Formative Evaluation Program of Area Health Research Fellowship
dc.contributor.author | กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ | th_TH |
dc.contributor.author | Krit Pongpirul | en_US |
dc.contributor.author | อารียา จิรธนานุวัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Areeya Jirathananuwat | en_US |
dc.contributor.author | จรวยพร ศรีศศลักษณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jaruayporn Srisasalux | en_US |
dc.contributor.author | พรชัย สิทธิศรัณย์กุล | th_TH |
dc.contributor.author | Pornchai Sithisarankul | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-12-23T05:02:22Z | |
dc.date.available | 2015-12-23T05:02:22Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4375 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนักวิจัยเขตสุขภาพรุ่นที่ 1 ในการสังเคราะห์ประเด็นสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการ (formative evaluation) โดยครอบคลุมโครงการทั้งระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 วิธีการศึกษา (Methods) วิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participatory observation) กรอบแนวคิดของโครงการ (concept note) และข้อเสนอโครงการ (proposal) ผลการศึกษา (Results) โครงการนี้มีทั้งหมด 3 ระยะจากผู้ส่งใบสมัครเข้าโครงการทั้งสิ้น 122 คน ใน 12 เขตสุขภาพ มีผู้ผ่านการพิจารณา statement of purpose 88 คน ในการอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 5 วันซึ่งเป็นระยะที่ 1 ในเดือนธันวาคม 2556 ผู้เข้าโครงการจะต้องเขียนconcept note งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์หรือตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข โดยพบว่ายุทธศาสตร์ที่มีผู้เลือกมากที่สุดคือ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ตัวชี้วัดที่ 26 ข้อมูลที่ใช้ส่วนใหญ่เป็น Dichotomous และ Continuous ตามลำดับ แนวทางการทำวิจัยที่พบมากที่สุดคือ การทำวิจัยในรูปแบบปัจจัยทำนาย (Determinant) การใช้สถิติที่มีความสนใจใช้มากที่สุดคือ สถิติขั้นพื้นฐาน (Basic statistic) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลำดับถัดมาคือ สถิติ t-test และ Chi-square ตามลำดับรวมทั้งมีความต้องการเข้ารับการคัดเลือก 64 คน คิดเป็นร้อยละ 75.3 ของจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งหมดในวันสุดท้ายผู้เข้าอบรมจะต้องนำเสนอ concept note ในระยะเวลาไม่เกินคนละ 5 นาที และตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้ผู้ที่เข้ารอบทั้งหมด 20 คน นักวิจัยทั้ง 20 คนนี้จะได้รับค่าตอบแทนในการดำเนินการวิจัยคนละ 120,000 บาท และได้รับการประกาศชื่อว่าเป็นตัวแทนในเขตสุขภาพ จากนั้นนักวิจัยเขตได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่องในระยะที่ 2 จำนวน 5 วัน (เดือนกุมภาพันธ์ 2557) ซึ่งในระยะนี้จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตป.โท/ป.เอก ประกบคู่นักวิจัยเขตแต่ละคน เพื่อช่วยเหลือนักวิจัยในการพัฒนาโครงร่างงานวิจัยให้สมบูรณ์จากนั้นนักวิจัยเขตจะดำเนินการทำวิจัย (ระยะที่ 3) โดยมีทีมอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตลงเยี่ยมพื้นที่เพื่อให้คำแนะนำ หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยจัดทำผลงานวิจัย (Research article) / บทความวิจัย (publishable article) ที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ สรุปผลการศึกษา (Conclusions) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ออกแบบจากความต้องการของผู้กำหนดนโยบาย ใช้ร่างข้อเสนอโครงการเป็นเครื่องมือกระตุ้นความคิด เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลผู้เข้าอบรมสามารถทำให้ได้ร่างข้อเสนอโครงการที่สามารถตอบสนองความต้องการของเขตสุขภาพได้เป็นอย่างดี ความสำคัญ (Significance) ประเด็นความสำคัญหลัก 4 ด้านที่ได้จากโครงการ (4Cs) คือ 1. ด้านความร่วมมือ (Collaborative development) ระหว่าง 2 สถาบันหลัก คือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กับ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ด้านการใช้เครื่องมือ concept note ในการนำเสนอโครงร่างงานวิจัยอย่างง่าย 3. ด้านการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด (Coaching) ของทีมที่ปรึกษา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และ 4. ด้านสิ่งจูงใจทั้งที่เป็นตัวเงินและตัวงาน (Cash award & non-financial incentive) ที่เป็นแรงขับเคลื่อนในการทำผลงาน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.title | การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนักวิจัยเขตสุขภาพรุ่นที่ 1 ระยะที่ 1 และ 2 | th_TH |
dc.title.alternative | Formative Evaluation Program of Area Health Research Fellowship | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.identifier.contactno | 57-078 | en_US |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | การประเมินผล | th_TH |
.custom.citation | กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์, Krit Pongpirul, อารียา จิรธนานุวัฒน์, Areeya Jirathananuwat, จรวยพร ศรีศศลักษณ์, Jaruayporn Srisasalux, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล and Pornchai Sithisarankul. "การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนักวิจัยเขตสุขภาพรุ่นที่ 1 ระยะที่ 1 และ 2." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4375">http://hdl.handle.net/11228/4375</a>. | |
.custom.total_download | 1420 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 21 | |
.custom.downloaded_this_year | 233 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 35 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ